การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้การงานอาชีพที่สอดคล้องตามสภาพท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดชัยนาท

Main Article Content

วิเชียร พรหมมา
บัญญัติ ชำนาญกิจ
บัณฑิตา อินสมบัติ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพที่สอดคล้องตามสภาพท้องถิ่น  เพื่อสร้างหลักสูตรสาระการเรียนรู้การงานอาชีพที่สอดคล้องตามสภาพท้องถิ่น และศึกษาผลการใช้หลักสูตรที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1  ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2  สร้างหลักสูตร และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้หลักสูตร

ผลการวิจัย พบว่า 

1. ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต้องนำมาสร้างหลักสูตรที่สอดคล้องตามสภาพท้องถิ่น มี 7 เรื่อง ได้แก่  1. การปลูกผักคะน้า 2. การปลูกผักบุ้งจีน 3. การปลูกฟักเขียว 4. การปลูกถั่วฝักยาว 5. การปลูกกะเพรา 6. การปลูกเฟื่องฟ้า และ 7. การปลูกฝรั่ง 

2. หลักสูตรสาระการเรียนรู้การงานอาชีพที่สอดคล้องตามสภาพท้องถิ่นประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง หน่วยการเรียนรู้ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แนวทางการจัดสื่อและแหล่งเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ องค์ประกอบโดยรวมของหลักสูตรมีความสอดคล้องและเหมาะสม 

3. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

This research aims to study the basis for the development of learning curriculum for careers in accordance with local conditions, to develop a local curriculum in occupation for students in elementary schools in Chainat province and to study the effect of using the curriculum on the academic achievement of students in elementary schools. The research was divided into three phases: 1) study the baseline data, 2) create the curriculum, and 3) study the effects of the curriculum.

The results showed that

1. The basic information needed to create a local curriculum in occupation for students in elementary schools in Chainat province includes 7 topics: 1. Planting kale. 2. Planting Chinese convolvulus. 3. Planting winter melon 4. Planting lentils. 5 Planting holy basil. 6. Planting Fuengfah and 7. Planting guava.

2. The curriculum consists of rationale, aims, structure, learning units, approach to the learning activities, approach for media and sources, guidelines for measurement and evaluation of learning. Component of the overall curriculum is consistent and appropriate.

3. Students who have been taught using the curriculum developed have the achievement after learning higher than before learning significantly at the .05 level

Article Details

Section
Dissertations