การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมประยุกต์ บนวินโดวส์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

เอกภพ สุดสะอาด
บัญญัติ ชำนาญกิจ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมประยุกต์บนวินโดวส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมประยุกต์บนวินโดวส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ 4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง การใช้งานโปรแกรมประยุกต์บนวินโดวส์ วิชาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ คือ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมประยุกต์บนวินโดวส์ ซึ่งมีประสิทธิภาพ 80.20/82.67 และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความยากง่ายและอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.20-0.78 และมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.81 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนสว่างอารมณ์วิทยาคม จำนวน 32 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า

1.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมประยุกต์บนวินโดวส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 80.00, 82.00, 81.00, 80.00, 78.00 /82.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80

2.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมประยุกต์บนวินโดวส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.64

3.  นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.  นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง การใช้งานโปรแกรมประยุกต์บนวินโดวส์ วิชาคอมพิวเตอร์

 

Abstract

The objectives of this research were to 1) create and find efficiency of computer-assisted instruction lesson on the usage of application program on windows for Matthayomsuksa 2 students. 2)  study effectiveness index of computer-assisted instruction lesson on the usage of application program on windows for Matthayomsuksa 2 students. 3) compare effectiveness learning in computer class about pretest and protest of the students in Matthayomseksa 2 that are taught by computer-assisted instruction lesson study. and 4) study permanency in computer learning of students that are taught by computer-assisted instruction lesson study.

Research instruments has two issues; 1) computer-assisted instruction lesson on the usage of application program on windows has efficiency 80.20/82.67 and 2) effectiveness learning test as objective exam amounts 30 items that valid to subject description averages 0.67-1.00 and has difficulty and easy average 0.20-0.78. This exam has validity average 0.81. The example group is research is the students in Matthayomsuksa 2 of academic year 2013 at Sawangaromwittayakom School amount 32 persons that got from group guessing.

The result found that

1. Computer-assisted instruction lesson study development named application in the window usage for the students in Matthayomsuksa 2 has efficiency 80.20/82.67 according to aspect 80/80.

2. Computer-assisted instruction lesson study development named application in the window usage for the students in Matthayomsuksa 2 has efficiency index 0.64.

3. The students are taught by computer-assisted instruction had scores in computer learning after using higher than before using significantly average 0.64

4. The students are taught by computer-assisted instruction has permanency in computer subject learning.

Article Details

How to Cite
สุดสะอาด เ., & ชำนาญกิจ บ. (2014). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมประยุกต์ บนวินโดวส์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 9(25), 107–122. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/24800
Section
Dissertations