ผลการจัดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบของทักษะปฏิบัติที่มีต่อทักษะการสอนด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา The Effects of Practical Skills Approach Learning Management on The Instructional Skills in Sufficient Life of Graduate Students

Main Article Content

พรสิริ เอี่ยมแก้ว Pornsiri Eiamguaw

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการสอนด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนทักษะปฏิบัติ 2) เปรียบเทียบทักษะการสอนด้านอยู่อย่างพอเพียงก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนทักษะปฏิบัติ  3) เปรียบเทียบทักษะการสอนด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนทักษะปฏิบัติกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยคือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ภาคพิเศษ ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนทักษะปฏิบัติ จำนวน 3 แผน ที่มีคุณภาพความเหมาะสมระดับมากที่สุด  2) แบบประเมินทักษะการสอนด้านอยู่อย่างพอเพียง มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1 และค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินเท่ากับ  0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และทดสอบค่าที  ผลการวิจัย พบว่า  


        1. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนทักษะปฏิบัติมีทักษะการสอนด้านอยู่อย่างพอเพียงอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}=2.86,S.D.=0.25)  


       2. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนทักษะปฏิบัติมีทักษะการสอนด้านอยู่อย่างพอเพียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  


        3. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนทักษะปฏิบัติ มีทักษะการสอนด้านอยู่อย่างพอเพียงสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


             The purposes of this research were to 1) study the instructional skills in sufficient life of graduate students with practical skills approach learning management 2) compare the instructional skills in sufficient life of graduate students before and after learning by practical skills approach learning management and 3) compare the instructional skills in sufficient life of graduate students with practical skills approach learning management with the criteria 75 percent of full score. The sample was 30 graduate students of Graduate Diploma Program in Teaching Profession, Special Program in the second of 2018 academic year which selected by random cluster sampling method. The research instruments were 1) the 3 lesson plans practical skills approach learning management with the most appropriate and 2) the assessment test of the instructional skills in sufficient life, the IOC index was 1 and the Rater Agreement Index (RAI) was 0.79. Data were analyzed by mean and dependent  t-test. 


The results of the research showed that   


         1. The graduate students with practical skills approach learning management had instructional skills in sufficient life  at the good level (gif.latex?\bar{x}=2.86, S.D.=0.25) 


         2. The graduate students after learning with practical skills approach learning management was higher than before significantly by statistical level .05. 


          3. The graduate students after learning with practical skills approach learning management was higher than the criteria 75 percent of full score significantly by statistical level .05.

Article Details

How to Cite
Pornsiri Eiamguaw พ. เ. (2021). ผลการจัดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบของทักษะปฏิบัติที่มีต่อทักษะการสอนด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา: The Effects of Practical Skills Approach Learning Management on The Instructional Skills in Sufficient Life of Graduate Students. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 16(1), 1–14. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/249277
Section
Research Articles

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). การพัฒนาหลักสูตรทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วีพรินท์.

ทิศนา แขมมณี. (2555) ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พรสิริ เอี่ยมแก้ว. (2560). รายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา 1125302 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (มคอ.5). นครสวรรค์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ภัทรียา เถื่อนเทียม. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รุ่งนภา โรจนบุรานนท์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเว็บที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่อง การสร้างเว็บไซต์ ด้วย Joomla สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศศวรรณธร วงษ์ประดิษฐ์. (2557) การพัฒนาทักษะการพิมพ์สัมผัสของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดของเดวีส์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และการวิเคราะห์สาระสำคัญ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

_________ . (2554). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สมปรารถนา ทองนาค. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาแฮนด์บอลโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมัธยมท่าแคลง จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อัญชลี สุขศรี. (2554). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนตามแนวคิดของเดวีส์ (Davies) ที่มีต่อทักษะกระบวนการ เรื่องการทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากผัก ผลไม้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Dave, R. (1967). Psychomotor domain. Berlin: International Conference of Educational Testing.

Peter F. Oliva, William R. Gordon,II. (2013). Developing the Curriculum. (8thed.) Singapore: Pearson Education South Asia Pte Ltd.

Ronald, C. Doll. (1970). Curriculum Improvement: Decision – Making and Process. (2thed.) Boston: Allyn and Bacon, Inc.

Tyler, R. W. (1971). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicaco: The University of Chicaco Press.