การพัฒนาความสามารถทางด้านการเขียนภาษาอังกฤษนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวสร้างสรรค์ความรู้และการใช้ กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์ The Development of Students’ English Writing Competency by Using Constructivist Teaching Model and Using Online Peer Feedback

Main Article Content

พงศ์ทวี ทัศวา และคณะ Pongtawee Tassawa and Others

Abstract

              งานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะการเขียนของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวสร้างสรรค์ความรู้และการใช้กิจกรรมให้ข้อมูลย้อนกลับแบบออนไลน์ จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                โดยมีผลการวิจัยพบว่าทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง มีพัฒนาการที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ ดังแสดงให้เห็นใน แผนที่ 1 การเขียนแบบเล่าเรื่อง นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 คิดเป็นร้อยละ 48.3 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.00 แผนที่ 2 การเขียนเรียงความแบบชักจูง นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.36 โดยคิดเป็นร้อยละ 63.6  และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73 แผนที่ 3 การเขียนเรียงความเชิงโต้แย้ง นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.62 โดยคิดเป็นร้อยละ 76.2 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43 แผนที่ 4 การเขียนเรียงความเชิงเปรียบเทียบ นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.02 โดยคิดเป็นร้อยละเท่ากับ 80.2 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40 และแผนสุดท้ายคือ แผนที่ 5 การเขียนเรียงความเชิงเหตุและผล นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.38 โดยคิดเป็นร้อยละ 83.8 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.34


              This research, The Development of Constructivist Teaching Model and Using Online Peer Feedback to Promote Students’ English Writing Skill, aims to promote students’ English writing skill after learning by using constructivist teaching model and online peer feedback to promote students’ English writing skill for which the criteria was set at 60 percent. The sample group is the second-year students who are studying in English major, Faculty of Education, Lampang Rajabhat University. The research had been conducted at the first semester of the academic year 2019. The research instruments consist of 1) 5 lesson plans which were designed according to constructivist teaching model and online peer feedback. 2) English writing composition test. The statistics used for data analysis were Mean, Percentage and Standard deviation. The result showed that the students’ development of writing skill rose gradually.

Article Details

Section
Dissertations

References

นิธิดา อดิภัทรนันท์. (2542). การเจรจาเพื่อหาความหมาย : กระบวนการเรียนการสอนเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อคิดเห็นจากเพื่อนและครูเพื่อปรับปรุงงานเขียน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่.

นิธิดา อดิภัทรนันท์. (2544). การวิเคราะห์งานเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดเชียงใหม่. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุ่งนภา นรมาตย์. (2556). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องเงิน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: โมเดลชิปปา. วารสารครุศาสตร์, 27, 1-17.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบแลกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Ackerman, J. D. (2006). Motivation for writing through blogs. (Masters’ thesis). Graduate College, Bowling Green State University.

Retrieved from https://etd.ohiolink.edu/!etd.send_file? accession= bgsu1151331882 & disposition= inline

Donald M Murray. (1978). Internal revision: A process of discovery. Research on composing: Points of departure. P. 85-103.

Fowler, S. M. (1994). Two decades of using simulation games for cross-cultural training. Simulation & Gaming, 25, 464-476. doi:10.1177/1046878194254004

Olander, M. V. (2007). Painting the voice: Weblogs and writing instruction in the high school classroom. Unpublished doctoral dissertation, Nova Southeastern University, Miami.

Porte, G. (1997). The etiology of poor second language writing: The influence of perceived teacher preferences on second language revision strategies. Journal of Second Language Writing, 6 (1), 61-78.

Swain, M., & Lapkin, S. (1995). Problems in Output and the Cognitive Processes They Generate: A Step towards Second Language Learning. Applied Linguistics, 16, 371-391.

Yang, S. H. (2009). Using blogs to enhance critical reflection and community of practice. Educational Technology & Society, 12(2), 11-21.