ผลการใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์เนลล์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการเรียน รายวิชาวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ 1 สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต The Effect of Using the Cornell Note-Taking Activities to Promote Undergraduate Education Students’ Learning Achievement and Satisfaction towards the Course, Method of Learning Management Science 1

Main Article Content

สุวัทนา สงวนรัตน์ Suwattana Sanguanrat

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาโดยใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์เนลล์ ในรายวิชาวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ 1 ก่อนและหลังเรียน 2) ศึกษาความสามารถจดบันทึกคอร์เนลล์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนของนักศึกษาต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์เนลล์ ในรายวิชาวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ 1 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2563 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์เนลล์ จำนวน 5 แผน แผนละ 4 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง แบบบันทึกกิจกรรมการจดบันทึกคอร์เนลล์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความสามารถจดบันทึกคอร์เนลล์ แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์เนลล์ การสะท้อนคิดของนักศึกษา และรูบริคการให้คะแนนการจดบันทึกคอร์เนลล์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


         ผลการวิจัยว่า 1) นักศึกษาที่เรียนโดยใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์เนลล์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษาที่เรียนโดยใช้การจดบันทึกแบบคอร์เนลล์มีความสามารถในการจดบันทึกคอร์เนลล์ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระดับดีมาก 3) นักศึกษาที่เรียนโดยใช้การจดบันทึกแบบคอร์เนลล์มีความพึงพอใจต่อการเรียนต่อการจดบันทึกคอร์เนลล์ในภาพรวมระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65


         The purposes of this research were to 1) compare undergraduate education students’ learning achievement before and after using the Cornell Note-Taking activities in the course, “Method of Learning Management Science 1,” 2) study the students’ note-taking abilities, and 3) study the students’ satisfaction towards learning using the Cornell Note-Taking activities. The sample included 50 English majors who enrolled in the course, “ED 1101206: Learning Management Science 1,” in the Faculty of Education of Thepsatri Rajabhat University during the first semester of the academic year 2020, The research instruments consisted of 5 lesson plans of 4 hours each totaling 20 hours using the Cornell Note-Taking activities and Cornell Note-Taking activities forms. Data were collected using a learning achievement test, an evaluation form on Cornell Note-Taking abilities, a questionnaire on students’ satisfaction towards learning using the Cornell Note-Taking activities, students’ reflection and Cornell Note-Taking rubric. The data were analyzed in terms of mean, standard deviation and content analysis.


         The research results were as follows: 1) The students’ learning achievement after using the Cornell Note-Taking activities was significantly higher than that before using them (p<.05). 2)The students’ note-taking abilities using the Cornell Note-Taking activities were at a very high level. 3) The students were highly satisfied with the Cornell Note-taking activities with the average score of 4.65.

Article Details

Section
Research Articles

References

กิตติมา สาธุวงษ์. (2551). ประสิทธิผลการเรียนโดยใช้รูปแบบการจดบันทึกคอร์เนลล์ในวิชาการ

พยาบาลเด็กและวัยรุ่น2ของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยกองทัพเรือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิดาภา ยั่งยืน และคณะ. (2554). การพัฒนาทักษะการเรียนในระบบการศึกษาทางไกลสำหรับ

นักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สถาบันวิจัยและพัฒนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นันทวรรณ ตีระวงศา. (2562). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจดบันทึกแบบ

คอร์เนลล์ ต่อความรู้ทางการเรียน ทักษะการจดบันทึก และความพึงพอใจของผู้เรียน.

วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29 (3), 1-8.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปณิดา มัณยานนท์. (2554). การใช้การจดบันทึกคอร์เนลล์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน

ภาษาอังกฤษและความสนใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8).

กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประสานมิตร.

วิชญาพร พรมสุริย์. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพาโนรามาเสริมด้วยการจดบันทึก

แบบคอร์เนลล์ต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 9 (1), 27-34.

วรชาติ อำไพ. (2557). “การจดบันทึก” มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม

, จาก www.stou.ac.th/offices/oes/oespage/guide/

ศศิธร อินตุ่น. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องการใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์เนลล์เพื่อส่งเสริมทักษะ

การเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สรารัตน์ จันกลิ่น. (2544). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษา

อังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการตั้ง

คำถามตนเองและกลวิธีการจดบันทึก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา

มัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Buehl, D. (2001). Classroom strategies for interactive learning. Wisconsin: International

Reading Association.

Harris, L. A., and Smith, C.B. (1986). Reading instruction, dignostic teaching in the

classroom.New York: Macmilan Publishing Co.Inc.

Oxford, R. L. (1990). Language learning strategies: What every teacher should know.

New York, Newbury Hose Publishers.

Pauk, W. (1984). How to study in college. Houghton: Miffin Company.

Payne, E., and Whittaker, L. (2000). Deveolping essential study skills. Harlow: Prentice

Hall.

Stefanou, C, Hoffman and Vielee, N. (2008). Note-Taking in the College Classroom as

Evidence of Generative Learning Environment Research, 11(1), 1-17.

Doi:10.1007/s10984-007-9033-0.

Tsai-Fu, T., &Yogan, W. (2010). Effects of Note-Taking Instruction and Note-Taking

Languageson College EFL Students’ Listening Comprehension. New Horizons in Education, 58(1),120-132. Retrieved from Education Research Complete database.

White, C. J. (1996). Note-Taking strategies and traces of cognition in language learning.

RELC Journal 27:89-102.