การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบประเด็นเรื่องเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 The develop curriculum of Thai writing skills using Theme – Based Learning for Matthayom 2 students

Main Article Content

มณีรัตน์ แก้วสุก และคณะ Maneerat Keawsuk and Others

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างหลักสูตรส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบประเด็นเรื่องเป็นฐาน สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบประเด็นเรื่องเป็นฐาน สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนนานาชาติยูนิตี้ คอนคอร์ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 25 คน ได้จากการสุ่มแบบง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบประเด็นเรื่องเป็นฐาน 2) แบบวัดทักษะการเขียนภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และแบบทดสอบก่อนเรียน (T-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบประเด็นเรื่องเป็นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมหลักสูตรมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.42, S.D = 0.52) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00
2. ผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบประเด็นเรื่องเป็นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีผลการประเมินทักษะการเขียนภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งยังมีความสามารถด้านทักษะการเขียนภาษาไทยหลังการ ใช้หลักสูตร คิดเป็นร้อยละของการพัฒนาเท่ากับ 12.53

Article Details

How to Cite
Maneerat Keawsuk and Others ม. แ. แ. (2021). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบประเด็นเรื่องเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2: The develop curriculum of Thai writing skills using Theme – Based Learning for Matthayom 2 students. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 16(1), 99–110. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/249357
บท
บทความวิทยานิพนธ์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หลักสูตรแกนกลางศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาตยา ปิลันธนานนท์ และคณะ. (2546). จากหลักสูตรสู่หน่วยการเรียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

พุดซา นุสติ. (2551). หลักการเขียนเรียงความ. กรุงเทพฯ: อี เค บุคส์.

พงศธร มหาวิจิตร. (2558). ปรับวิถีการออกแบบการเรียนรู้ เพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. นิตยาสาร สสวท.

รัตนะ บัวสนธ์. (2554). การวิจัยและพัฒนาวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครสวรรค์: หจก.ริมปิงการพิมพ์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Halil Coskun Celik. (2018). The Effect of Activity Based Learning on Sixth Grade Student’ Achievement and Attitudes towards Mathematics Activities. Eurasia Journal of Mathematics Science and Technology Education.

Harmer, J. (1982, April). “What is Communicative?”. English Language teaching journal, 24: 166-167. April.

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory of Practice. New York: Harcourt, Brace and World.