การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของอาจารย์นิเทศ และครูพี่เลี้ยงตามแนวทาง CCR โดยใช้ระบบหนุนเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) The Supervision Competency Development of Supervisors and Mentor Teachers Based on CCR Model Supported by Professional Learning Community (PLC) System

Main Article Content

ณิรดา เวชญาลักษณ์ Nirada Wechayaluck
สุกัญญา สีสมบา Sukanya Seesomba
ธัญญาพร ก่องขันธ์ Thanyaporn Kongkhan
อุเทน ปุ่มสันเทียะ Uthen Pumsanthia
ธีรภัทร์ พุ่มพลอย Teerapat Phumploy

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของอาจารย์นิเทศ และครูพี่เลี้ยงตามแนวทาง CCR โดยใช้ระบบหนุนเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  (PLC)  โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การสังเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมบ่งชี้บทบาทและสมรรถนะการเป็นอาจารย์นิเทศและครูพี่เลี้ยง กลุ่มเป้าหมาย คืออาจารย์นิเทศนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 10 คน และครูพี่เลี้ยงของนักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ จำนวน 37 คน โดยการสนทนากลุ่ม ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ คือประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2)  การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของอาจารย์นิเทศ และครูพี่เลี้ยงตามแนวทาง CCR โดยใช้ระบบหนุนเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เครื่องมือคือ  แบบประเมินตนเองของอาจารย์นิเทศ และครูพี่เลี้ยง จำนวน 47 ฉบับ และ 2) แบบประเมินโดยนักศึกษา จำนวน 37 ฉบับ เป็นแบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale)  5 ระดับ


                ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบด้านพฤติกรรมบ่งชี้บทบาทและสมรรถนะการเป็นอาจารย์นิเทศและครูพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านการสื่อสารที่ดี  2) ด้านทัศนคติทางบวก 3) ด้านความยุติธรรม 4) ด้านเสริมพลังอำนาจ 5) ด้านความพึงพอใจในงาน และ 6) ด้านความผูกพันต่อองค์กร ผลการประเมินตนเองของอาจารย์นิเทศและครูพี่เลี้ยง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการสื่อสารที่ดี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านทัศนคติทางบวก ผลการประเมินอาจารย์นิเทศและครูพี่เลี้ยง ประเมินโดยนักศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสื่อสารที่ดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านความผูกพันธ์ต่อองค์กร

Article Details

How to Cite
Nirada Wechayaluck ณ. . เ., Sukanya Seesomba ส. ส., Thanyaporn Kongkhan ธ. ก., Uthen Pumsanthia อ. ป., & Teerapat Phumploy ธ. พ. (2021). การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศของอาจารย์นิเทศ และครูพี่เลี้ยงตามแนวทาง CCR โดยใช้ระบบหนุนเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC): The Supervision Competency Development of Supervisors and Mentor Teachers Based on CCR Model Supported by Professional Learning Community (PLC) System. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 16(2), 29–44. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/249382
Section
Research Articles

References

ชีวัน เขียววิจิตร, รุ่งทิวา แย้มรุ่ง และ ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร. (2560). กระบวนการพัฒนาต้นแบบ
ครูพ่ีเลี้ยงของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารการศึกษาศาสตร์ คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 18 (1), 198-213.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง, อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร ,นภาเดช บุญเชิดชู และกนิษฐา เชาว์วัฒนกุล. (2560).
รูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพอาจารย์นิเทศก์ และอาจารย์พี่เลี้ยงเพื่อพัฒนา
ความสามารถ ด้านการเป็นพี่เลี้ยงวิชาการสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู.
วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University, ปีที่ 10 (3), 104-122.
ศึกษา เรืองดำ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาการโค้ชและระบบ
พี่เลี้ยงและการวิจัยเป็นฐานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนและการพัฒนา
สมรรถนะการสอนของนักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาไทย. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, ปีที่ 10 (ฉบับพิเศษ), 15-25.
Davies, P., & Dunnill, R. (2008). Learning study as a model of collaborative practice in
initial teacher education. Journal of Education for Teaching, 34(1), 3-16.
Fayne, H.R. (2007). Supervision from the student teacher’s perspective: An institutional case study.
Journal of Studying Teacher Education. 3 (1): 53-66.
Silva,Y. D. & Dana, F. N. (2001). Collaborative supervision in the professional development school.
Dissertation Abstracts International. 16 (2001): 45 – A.