การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา : กรณีศึกษา ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง Community-based Tourism Management in the Songkhla Lake Basin : Case Study Koh Mak, Pak Phayun District, Phatthalung Province

Main Article Content

วิสุทธิณี ธานีรัตน์ Wisuttinee Taneerat

Abstract

             การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาของชุมชนเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเจาะจงเลือกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา  สามารถแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวของชุมชนเกาะหมาก รวมจำนวน 30 คน ใช้การสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปประเด็น และนำไปสู่การวิเคราะห์เนื้อหาสาระ (Content Analysis)   


             ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุมชนเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีทรัพยากรทางธรรมชาติที่เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวโดดเด่นอย่างหลากหลาย ทั้งทางบกและทางทะเล รวมทั้งมีแหล่งเที่ยวทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา จึงสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สนใจเป็นจำนวนมาก สำหรับลักษณะการจัดการท่องเที่ยวเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นโดยคนในชุมชน ซึ่งผลจากการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนเกาะหมาก ทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างงานและสร้างรายได้  ด้านความเข้มแข็งของชุมชนและพึ่งตนเอง และด้านการท่องเที่ยวในชุมชน 2) แนวทางการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนเกาะหมาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนด้านการผลิตและด้านการตลาด โดยเฉพาะการออกแบบผลิตภัณฑ์และการทำการตลาดออนไลน์


                This study aimed 1)  to study the characteristic of community-based tourism management in the Songkhla lake basin area of the Koh Mak community, Pak Phayun District, Phatthalung Province. And 2) to study the guideline for development tourism management of the Koh Mak community. This research was a qualitative research. By using a specific method to select those involved in the management of community-based tourism in the Songkhla Lake Basin.  The key informants were divided into 4 groups: government agencies, community leaders, entrepreneurs and tourism stakeholders of the Koh Mak community, totaling 30 people. The researcher used a semi-structured interview and observations without participation in collecting data from the target audience. Then, analyze the data by summarizing the issues and lead to content analysis.


             The result found that 1) Koh Mak Community, Pak Phayun District located in the Songkhla lake basin, it had a wide variety of natural resources that are outstanding tourism resources both by land and by sea as well as having cultural and wisdom tourism sites, thus able to attract a lot of interested tourists. For the characteristic of tourism management was a cooperation made by people in the community. The effects of tourism management of the Koh Mak community affected in three important benefits to the community: job creation and income generation, the strength of the community and self-reliance, and tourism in the community. 2) The guidelines for development tourism management of the Koh Mak community, the relevant government should support production and marketing especially for product design and online marketing.

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของประเทศไทย. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.mots.go.th.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). CBT เปรียบเสมือนวิตามิน. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.tat.or.th.

กฤษณ์ ศรทัตต์. (2560). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน สหัสขันธ์ไดโนศักยภาพการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ : กาฬสินธุ์.

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.nstda.or.th.

เจนจิรา อักษรพิมพ์. (2559). กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืนของกลุ่มโฮมสเตย์ จังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ : เชียงใหม่.

ชัยรัตน์ จุสปาโล, สุจิตราภรณ์ จุสปาโล, และบุญรัตน์ บุญรัศมี (2557). การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนพื้นที่ชุมชนเกาะหมาก จังหวัดพัทลุง (รายงานการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ชุติกาญจน์ กันทะอู. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาบ้านร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ : กรุงเทพมหานคร.

ธณัศวัล กุลศรี. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์สิรินธร ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 9(3), 1-16.

นิตติยา ทองเสนอ และอุทิศ สังขรัตน์. (2558). การจัดการวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในตำบลเกาะหมากอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 10(1), 187-206.

ปรีชา คุณแสน. (2555). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่.

พิมพ์ลภัส พงศ์กรรังศิลป์. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านโคกไคร จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 7(3), 650-665.

เพ็ญจันทร์ สังข์แก้ว. (2563) การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นที่สูง ตำบลทุ่งสมอ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์: เพชรบูรณ์.

สายรุ้ง ดินโคกสูง. (2559). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษาหาดชบา ตำบลชบา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.

สำนักงานจังหวัดพัทลุง. (2563). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดพัทลุง. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2563. จาก http://www.phatthalung.go.th

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1-3/2563. สืบค้น 30 มกราคม 2564 จาก

https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=QGDP_report

สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2560). CBT ทำอย่างไรให้ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โปรดักส์เฮ้า แอสเซอเซอร์รี่.