โครงสร้างความสัมพันธ์ของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารตน ต่อแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานของนักบัญชีในภาคเหนือตอนบน; The Relationship Structure of Sufficiency Economy Philosophy, Self Management towards Achievement Motive in Working of Accountants in t

Main Article Content

พรชนก ทองลาด, สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา; Bhornchanok Thonglad, Suteera Tipwiwajpojana

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การบริหารตน และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของนักบัญชี และ 2) โครงสร้างความสัมพันธ์ของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารตน ต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานของนักบัญชี โดยใช้การศึกษาเชิงปริมาณในรูปแบบโมเดลสมการโครงสร้าง  และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย  กลุ่มตัวอย่างคือนักบัญชีจากสำนักงานสอบบัญชีในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 183 ราย รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรแฝง 3 ตัว  ตัวแปรประจักษ์ 9 ตัว  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับสังคมศาสตร์

               ผลการวิจัยพบว่าโมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารตน ต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานของนักบัญชีที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (ประกอบด้วยความต้องการความสำเร็จ จิตจดจ่อ และความเพียรพยายาม) ขึ้นอยู่กับการบริหารตน (ประกอบด้วย การเข้าใจและรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ และหลักธรรมสำหรับการพัฒนาตนมากที่สุด  โดยส่งผ่านมาจากความเข้าใจใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ประกอบด้วยการมีภูมิคุ้มกัน ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และความรู้คู่คุณธรรม)  นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความเข้าใจใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง

 

Abstract

                The purposes of this research were 1) to study the components of achievement motive, self management and Sufficiency Economy Philosophy of accountants, and 2) to explore the relationship structure of  Sufficiency Economy Philosophy, self management towards achievement motive in working of accountants. It was the quantitative study in the form of structural equation model using questionnaire as an instrument. The samples were 348 accountants from the Auditing  Office in the Upper Northern Part. The developed causal model consists of three latent variables and nine observe variables. The data were analyzed by statistical package for social sciences.

                The results of this study were found that the structural equation model of Sufficiency Economy Philosophy, self management towards achievement motive in working of accountants was consistent with empirical data by the achievement motive (consisting of the need to succeed, mental focus, and perseverance) depends on self management (consisting of understanding, know yourself truly, and rule of moral) the most. This procedure was passed through understanding life following the Philosophy of Sufficiency Economy (consisting of self-immunity, moderation, reasonableness, and virtue cognition). In addition, It depends on understanding how to use daily life directly according to Sufficiency Economy.

 

Article Details

How to Cite
Bhornchanok Thonglad, Suteera Tipwiwajpojana พ. ท. ส. ท. (2016). โครงสร้างความสัมพันธ์ของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารตน ต่อแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานของนักบัญชีในภาคเหนือตอนบน; The Relationship Structure of Sufficiency Economy Philosophy, Self Management towards Achievement Motive in Working of Accountants in t. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 11(31), 17–32. https://doi.org/10.14456/jssra.2016.2
Section
Research Articles
Author Biography

พรชนก ทองลาด, สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา; Bhornchanok Thonglad, Suteera Tipwiwajpojana, Fuculty of Management Science

Fuculty of Management Science  Rajabhat Lampang University Thailand 52100.