ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อ ความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 The Effect of Integrated STEM Education Inquiry-Based Learning and Attitude to word Science Lesson of Mathayomsuksa 3 Students

Main Article Content

สุธาธิณี กรุดเงิน Suthatinee Krutngoen

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และ3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.21 2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์จำนวน 3 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.96 ค่าดัชนีความเห็นพ้องกันของผู้ประเมิน 0.91 และ 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.97 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ วิลคอกชัน


                ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษามีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูง


              The purposes of this research were 1) to compare the creativity between before and after learning of Mathayomsuksa 3 students who participated in integrated STEM Education inquiry-based learning, 2) to compare the creativity between before and after learning of Mathayomsuksa 3 students who participated in integrated STEM Education inquiry-based learning with 75 percent of full score criteria, 3) to examine the attitude toward science lesson of Mathayomsuksa 3 students who participated in integrated STEM Education inquiry-based learning. The research subjects were 9 Mathayomsuksa 3 students who were selected using cluster random sampling. The research instruments were 1) an integrated STEM Education inquiry-based learning lesson plan with mean at 4.93 and standard deviation at 0.21, 2) 3 questions creativity test with Index of Item Objective Congruence at 0.96 and Rater Agreement Index at 0.91, 3) an attitude toward science lesson test with Index of Item Objective Congruence at 0.97 and reliability at .97. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, and Wilcoxon Signed-Rank Test.


                The research found that 1) Mathayomsuksa 3 students who participated in integrated STEM Education inquiry-based learning had significantly higher creativity after learning than before learning at 0.5 level, 2) Mathayomsuksa 3 students who participated in integrated STEM Education inquiry-based learning had significantly higher creativity after learning than 75 percent of full score criteria at 0.5 level, 3) Mathayomsuksa 3 students who participated in integrated STEM Education inquiry-based learning had a high attitude toward science lesson.

Article Details

Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2534). ความคิดสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา
ลาดพร้าว.
. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ณัฐพงศ์ มณีโรจน์. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิด
สะเต็มศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). การจัดการศึกษา 4.0 กับการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ
21 พฤษภาคม 2561, จาก http://adacstou.wixsite.com/adacstou/about-1
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธิชฟานฑ์ โส๊ะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นทักษะการคิด
วิเคราะห์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและ
การสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
เบญจกาญจน์ ใส่ละม้าย. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผ่านการ
จัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเรื่องอาชีพในท้องถิ่น จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ปฐมวัยศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญรัตน์ จันทร. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง สภาพสมดุล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ
สืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสต์ 5 ขั้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
(วิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พัชราภรณ์ เมืองศรี. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคิดสร้างสรรค์ทาง
วิทยาศาสตร์และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้
กิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น และกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (การวิจัยการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: โรงพิมพ์ตักสิลาการพิมพ์.
รัตนาพร ขุนพรหม. (2558). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์
ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษวงศ์.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2558,มกราคม – กุมภาพันธ์). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง
สะเต็มศึกษากับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สถาบันส่งเสริมการสอนและ
เทคโนโลยี. 43(192): 14 – 18.
เสาวคนธ์ สกุลศรี. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมสร้าง
ความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์. (2547). คู่มือการใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์ชีวภาพ.
กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
. (2557) . สะเต็มศึกษา Science Technology Engineering and Mathematics Education :STEM
Education กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
. (2015ข). ผลการสอบ PISA (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2562 จาก
http://www.ipst.ac.th/
Khali, M. N, & Osman, K. (2017). STEM-21CS Module: Fostering 21St Century Skills through Integrated
STEM. Science Education. National University of Malaysia.
Ugras, M. (2018). The Effect of STEM Activities on STEM Attitudes, Scientific Creativity and Motivation Beliefs
of the Students and Their Views on STEM Education. Education. Firat University.
Naurhadi, Lukman, Roswati, Erni, & Yuliana, Hamrina. (2016). Implementation of Inquiry Based Learning to
Improve Understanding the Concept of Electric Dynamic and Creative Think Skills. Magister
Program Education of Natural Science.Halu Oleo University.