การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Development of literature achievement Klon Dok Sroy Rumpueng Nai Paacha By MACRO model Learning and Group Processing for Matthayomsuksa 2 Students

Main Article Content

ดลชัย อินทรโกสุม Donlachai Intarakosum

Abstract

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9 จำนวน 39 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านไร่วิทยา จังหวัดอุทัยธานี ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการกลุ่ม จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบหาค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว (One Sample) และการทดสอบหาค่าเฉลี่ยของข้อมูล 2 ชุด ที่ไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples)


                ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการกลุ่ม เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า มีค่าคะแนนคุณภาพเฉลี่ย เท่ากับ 4.64 อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการกลุ่มสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 22.56 คิดเป็นร้อยละ 75.21 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการกลุ่ม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 อยู่ในระดับมาก


              This study aims to 1) find the quality of the MACRO model and group process plans to improve literature learning achievement of Matthayomsuksa 2 students, 2) compare pretest and posttest learning achievement of a literature work Klon Dok Sroy Rumpueng Nai Paacha, 3) compare learning achievement of a literature work Klon Dok Sroy Rumpueng Nai Paacha against the 70% criteria, 4) study student satisfaction towards the learning management. The sample group consists of 39 students from Class 2/9 of Semester 2, Academic year 2020, Banrai Witthaya School, Uthai Thani Province, selected by simple random sampling. Tools used in this study are 1) three plans with MACRO model learning management and group process, 2) an assessment form for learning achievement of a literature work Klon Dok Sroy Rumpueng Nai Paacha, 3) satisfaction survey form. Statistics used in this study are mean, percentage, standard deviation, one-sample t-test and paired samples t-test.


                The results of the research revealed that 1) the learning management plan with the MACRO model and group process has an average score of 4.64 (Highest), 2) posttest learning achievement of a literature work Klon Dok Sroy Rumpueng Nai Paacha is higher than pretest achievement with statistical significance of .05, 3) learning achievement of a literature work Klon Dok Sroy Rumpueng Nai Paacha has an average score of 22.56 or 75.21% exceeding the criteria, and 4) the students rate their satisfaction towards the MACRO model and group process-based learning management 4.27 on average (high).

Article Details

Section
Dissertations

References

กฤติน เก้าเอี้ยน. (2561). การพัฒนาทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 120 – 135.
กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2560). จะสอนวรรณคดีอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดมโนทัศน์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 203 – 213.
ชลธิชา นำนา. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(2), 113 – 128.
ดิเรก วรรณเศียร. (2558). MACRO model: รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนพร เลิศโพธาวัฒนา. (2561). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21: MACRO MODEL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.
พร้อมเพื่อน จันทร์นวล. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม KAHOOT เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้วรรณคดีไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.
พิมพ์ชญา ธนาพรพงศ์สถิต และวัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง. (2563). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้รูปแบบสมองเป็นฐานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโรงเรียนสุพรรณปัญญานุกูล. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 95 – 108.
ฟิกรี กีไร. (2561). การเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคงทนในการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ MACRO MADEL ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.
รณชัย จันทร์แก้ว. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ และความคงทนในการเรียนวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 27(2), 165 – 178.
รุ่งฤดี แผลงศร. (2561). ศาสตร์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธาทิพย์ งามนิล และคณะ. (2558). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุภัทรพงศ์ รวงผึ้งรุ่งโรจน์. (2555). การเปรียบเทียบความสามารถทางการคิดรงบยอดในการเรียนวรรณคดีไทยระหว่างกลุ่มที่สอนโดยใช้แผนผังมโนทัศน์กับการสอนตามแนวคิดผู้เรียนสร้างความรู้เอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
สุรจิตต์ เดชอมรชัย. (2562). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสเชิงรุกโดยใช้กระบวนการกลุ่ม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(2), 84 – 101.
สุวัฒนา มั่นภาวนา. (2562). ความเข้าใจในการอ่านวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคแผนผังความคิด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(2), 83 – 97.
อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2562). แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ: หน้าที่ครูหรือหน้าที่ใคร. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(3), 898 – 910.
Michael, A. & Amber, M.G. (2020). Group Process and Intergroup Relations. Retrieved September 8, 2020, from https://www.researchgate.net/publication/
324268458_Group_Processes_and_Intergroup_Relations