อัตราการเข้ารับบริการทันตกรรมและสาเหตุการไม่เข้ารับบริการของผู้สูงอายุ ในโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี Dental Service Attendance and the Reasons for Not Attending the Service among Elderly Promotion Project in Nong Chang District, under Elderly Health Uthai Thani Province

Main Article Content

มลฤดี พัฒนพงษ์ Molruedi Pattanapong

Abstract

         การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อัตราความชุกการเข้ารับบริการทันตกรรม และ 2) สาเหตุการไม่เข้ารับบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 294 คน จากจำนวนประชากร 1,240 คน คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรคำนวณแบบทราบประชากร โดยใช้สูตร Sample Size for Frequency in a Population ในโปรแกรม Open Source Epidemiologic Statistics for Public Health และทำการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามแบบเลือกตอบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 6 ข้อ 2) การเข้ารับบริการทันตกรรมในโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 10 ข้อ แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                 ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.54 มีอายุเฉลี่ย 68.67±5.00 ปี มีระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 61.90 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 64.29 อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 39.80 มีรายได้ของครอบครัวต่อเดือนน้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 75.51 มีฟันแท้ที่ใช้งานได้ ร้อยละ 61.22 กลุ่มตัวอย่างทุกคนได้รับการตรวจฟันในโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและหมอฟันได้นัดผู้สูงอายุส่วนใหญ่เข้ารับการรักษา ร้อยละ 79.25 พบอัตราการไม่ได้เข้ารับบริการทันตกรรมในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 64.63 ในครั้งล่าสุดมารับบริการถอนฟัน ร้อยละ 37.76 สถานบริการทันตกรรมที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ใช้บริการทันตกรรมครั้งล่าสุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร้อยละ 54.08 และเป็นผู้ใช้สิทธิประกันสุขภาพ ร้อยละ 72.45 เหตุผลที่ผู้สูงอายุไม่เข้ารับบริการทันตกรรมในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีฟัน ร้อยละ 35.26 รองลงมา คือ ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก และกังวลเกี่ยวกับการทำฟัน ร้อยละ 32.11 และ 15.79 ตามลำดับ


              This survey research aimed to determine 1) dental service attendance rate, and 2) the reasons for not attending dental services among elderly under the Elderly Health Promotion Project in Nong Chang District, Uthai Thani Province. The sample group was the elderly who participated in the Elderly Health Promotion Project, Nong Chang District, Uthai Thani Province, consisted of 294 persons from a population of 1,240 persons. The sample size was calculated using a population-acknowledged formula using the Sample Size for Frequency in a Population formula in the Open Source Epidemiologic Statistics for Public Health program. and systematically sampling. The instrument used was a multiple-choice questionnaire, divided into 2 parts: 1) Personal data, 6 items, and 2) Dental services in the Elderly Health Promotion Project, 10 items. Data were collected using a questionnaire with reliability value of 0.94. Statistics for data analyses were frequency, percentage, mean, and standard deviation.


                The results demonstrated, most of the elderly were female 60.54 %, mean age 68.67 ± 5.00 years, most of the elderly had an elementary education level 61.90 %, had marital status 64.29 %, occupation farmers 39.80 %, have a monthly family income of less than 5,000 baht 75.51%, have active permanent teeth 61.22 %. All of the samples received dental examinations in the Elderly Health Promotion Program, and dentists made an appointment, the majority of the elderly received treatment 79.25 %, the rate of not having a dental service in the past 1 year was 64.63 %, in the last time, 37.76 % of them came to receive tooth extraction services, the most recent dental care facilities used by the elderly were 54.08 % of sub-district Health Promoting Hospital, and 72.45 % of health insurance users. The reasons for not attending dental service among elderly in the past 1 year were because 35.26% had no teeth, followed by no oral health problems and worried about dental work, 32.11% and 15.79%, respectively.

Article Details

Section
Dissertations