รูปแบบการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 The Model of Participatory in the Development of Learning Resources Outside School between Community and School under the Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2

Main Article Content

สิริพร ปาณาวงษ์ Siriporn Panawong
วุฒิชัย พิลึก Wudhijaya Philuek
ณิชารีย์ ป้อมสัมฤทธิ์ Nichalee Pomsumrit

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และ 2) ประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ดำเนินการ 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา ผู้วิจัยศึกษาทฤษฎี แนวคิด เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา ฯ ยกร่างรูปแบบการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา และพิจารณารูปแบบที่ยกร่างโดยการสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 2 คน ครูจำนวน 4 คน ผู้นำชุมชนจำนวน 4 คน ผู้ปกครองนักเรียน 4 คน รวมจำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ผลการสนทนากลุ่มด้วยการวิเคราะห์สรุปอุปนัย ระยะที่ 2 การประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาฯ ผู้วิจัยจัดให้มีการประชุมเพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา โดยผู้วิจัยนำเสนอรายละเอียดของรูปแบบ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 10 คน ครูจำนวน 30 คน ผู้นำชุมชนจำนวน 20 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5 คน รวมจำนวน 65 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง พิจารณาประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วม ด้วยแบบประเมินจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสม แบบประเมินความเป็นไปได้ และแบบประเมินความเป็นประโยชน์ เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ประกอบด้วย การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม 5 ขั้นตอน และกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายนอก 15 กิจกรรม 2) ผลการประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด


          The objectives of this research were 1) to develop the participation model in the development of learning resources outside the school between communities and educational institutions under the Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2, and 2) to evaluated the participation model in the development of learning resources outside the school between communities and educational institutions under the Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2. Researchers carried out in two phases as follows: Phase 1 developing a participation model in the development of learning resources outside the school between the communities and educational institutions. Researchers studied the theories, concepts, documents and related research and the results of the study of needs and necessities for participating in the development of learning resources outside the school. Researchers drafted the participation model in the development of learning resources outside the school between the communities and educational institutions, and jointly considered the model raised by group discussions with stakeholders in participating in the development of learning resources outside the school which this study consisted of 2 school administrators, 4 teachers, 4 community leaders, 4 parents and 14 students, all obtained by Purposive Sampling. Analysis of group discussion results by inductive summary analysis. Phase 2 was evaluation the participation model in the development of learning resources outside the school between communities and educational institutions under the Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2. Researchers arranged a meeting to present the participation model. The participants in the meeting consisted of 10 school administrators, 30 teachers, 20 community leaders, 5 village philosophers, total 65 people, all obtained by Purposive Sampling. The participation model was assessed by using three assessments, namely the Appropriateness assessment form, Feasibility assessment form and Usefulness assessment form. It was a 5 Likert Rating Scale questionnaire. The data were analyzed by Means and Standard Deviation.  The results showed that 1) the participation model in the development of learning resources outside the school between communities and educational institutions under the Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 consisted of 5 steps of participatory development and 15 participation activities in learning resources development, and 2) the results of the participation model in the development of learning resources outside the school between communities and educational institutions under the Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 evaluation by stakeholders found that it was appropriate, possibility, and the usefulness is at the highest level.

Article Details

Section
Research Articles

References

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชนิดา ลือปัญญา. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฐิติพร รุ่งเช้า. (2562). รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนของโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2(4), 33-47.

เด่นวิช ชูคันหอม. (2558). รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: 598 Print.

มุทิตา แพทย์ประทุม. (2549). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วุฒิไกร คำแฝง. (2557). รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้วยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีศึกษาโรงเรียนกู่กาสิงห์ประชาสรรค์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สภาสถาบันราชภัฏ, กระทรวงศึกษาธิการ, และทบวงมหาวิทยาลัย, สำนักงาน. (2546). หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการจัดการและการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้น.

สิริพร ปาณาวงษ์, และคณะ. (2563). การประเมินความต้องการจำเป็นการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. รายงานการวิจัย, นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.