การลดพฤติกรรมความขัดแย้งด้วยการจัดกิจกรรมบูรณาการการเล่านิทาน และการจำลองสถานการณ์ในเด็กปฐมวัย Reduction of Conflict Behaviors by Integrated Storytelling and Situation Simulation in Early Childhood

Main Article Content

ธนวรรณ เอนก Thanawan Anake
ปัทมาวดี เล่ห์มงคล Pattamavadi Lehmongkol
ชลาธิป สมาหิโต Chalatip Samahito

Abstract

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดพฤติกรรมความขัดแย้งและเปรียบเทียบพฤติกรรมความขัดแย้งในเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมบูรณาการการเล่านิทานและการจำลองสถานการณ์ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านชุมม่วง จังหวัดนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมบูรณาการการเล่านิทานและการจำลองสถานการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 24 แผน แบบประเมิน การลดพฤติกรรมความขัดแย้งในชั้นเรียน ทั้งหมดจำนวน 15 ข้อ และแบบบันทึกพฤติกรรม ความขัดแย้งในชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลทางสถิติหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และบรรยายเชิงพรรณนา  ผลการศึกษาพบว่าเด็กปฐมวัยเข้าใจและระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งได้ มีการแลกเปลี่ยนความคิดวิธีการลดพฤติกรรมความขัดแย้ง สามารถเลือกวิธีการแก้ปัญหาและสรุปปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึง การนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมความขัดแย้งของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลัง การทดลองพบว่ามีค่าเฉลี่ยของการลดพฤติกรรมความขัดแย้งในเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่า ก่อนการทดลอง


             The purpose of this study was to study reduction of conflict behaviors by integrated storytelling and situation simulation in early childhood and compare conflict behaviors in early childhood before and after providing integrated storytelling and situation simulation.  The target group in this study consisted of 19 male and female young children ranging in age between 5 – 6 years old and studying in kindergarten level 3, second semester, academic year of 2021 at Baan Chummuang School, Nakhonsawan. The study instruments included 24 plans of integrated storytelling and situation simulation to reduce conflict behaviors in early childhood, conflict behaviors assessment and recording form of conflict behaviors in early childhood. Data was analyzed by mean, standard deviation, and content analysis.  The results of the study showed that early childhood could understand and identify the causes of conflict. There was an exchange of ideas on how to reduce conflict behavior chose a solution and summarized the problem, including applied it in daily life. Early childhood who participated in integrated storytelling and situation simulation had posttest scores higher than pretest scores.

Article Details

Section
Dissertations

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). ทักษะทางสังคมใครว่าไม่สำคัญ. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563, จาก www.kriengsak.com/component/print.php?id_content_category.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2541). การเล่านิทาน. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 2(2), 10 – 19.

จิราพร ปั้นทอง. (2550). ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการเชิดหุ่นมือ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร. (2556). สอนลูกให้มีทักษะชีวิต (Life Skills). สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563, จาก http://taamkru.com.th/สอนลูกให้มีทักษะชีวิต(Life Skills)

ปราณี ปริยวาที. (2551). การพัฒนาจริยธรรมของเด็กปฐมวัยโดยการเล่านิทานและการติดตามผล. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). คู่มือหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

อริสา โสภาคํา. (2551). พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานอีสปประกอบสถานการณ์จำลอง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย)มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bruner, L. S. (1969). The Process of Education. Cambridge, Massachusetts: Hayward University Press.

Classroom, L. (2007). Acting out: Literacy development though dramatic play. Retrieved December 16, 2020 from http://donorschoose.org/donors/proposal.html?id86739

Dewey, J. (1976). Moral Principle in Education. Boston: Houghton Mifflin.

Johnson, D. W., & Johnson, R. (2000). Effects of conflict resolution training integrated into a kindergarten curriculum. Child Development, 71: 772-784.

Myhre, S. M. (1993). Enhancing your dramatic-play area through the use of prop boxes. Young Children, 48: 6-11.

Piaget, J. (1969). The Stages of the Intellectual Development of the Child. Bulletin of the Menninger clinic.