ทิศทางและแนวโน้มของภาวะผู้นำทางการประถมศึกษาในยุค Digital Disruption The Directions and Trends for Elementary Education Leadership in The Digital Disruption Era

Main Article Content

ชวลิต ขอดศิริ Chawalit Kodsiri

Abstract

              บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่ออภิปรายถึงความรู้ สมรรถนะ จิตวิญญาณความเป็นผู้นำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงความท้าทายของทิศทางและแนวโน้มของภาวะผู้นำทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในยุค Digital Disruption และ 2 ) เพื่อเท่าทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาในยุคดิจิทัลให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย แนวคิดและทฤษฎีภาวะผู้นำทางการศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ภาวะผู้นำทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล บทบาทภาวะผู้นำทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา ในยุค Digital Disruption ปัจจัยนำมาสู่ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษาในยุค Disruptive Innovation นวัตกรรมการศึกษาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในยุค Disruptive Innovation และแนวทางการพัฒนาครูระดับประถมศึกษาไปสู่ผู้นำด้านเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาสมรรถนะความรอบรู้ดิจิทัลไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วยการสร้างพลังเครือข่ายวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา ทั้งในระดับชาติและนานาชาติต่อไป


              The objective of this academic article was 1) to discuss concerning knowledge, competencies, spirituality, leadership for creating changes, challenges of direction and trends of leadership for the primary education in the digital disruption era, and 2) to keep up with the changing situations of digital disruption technology that affected the school management in the digital era to achieve the ultimate goal which consisted of concepts and theories of educational leadership and learning management in the 21st century, primary education leadership for digital change, roles of leadership for primary education in the digital disruption era, factors leading to success for the learning management in primary schools of the disruptive innovation era, educational innovation to create change in the disruptive innovation era and the guidelines for developing primary school teachers to become technological leaders in order to improve digital literacy for the future changes by building professional networks of educational administration both nationally and internationally.

Article Details

How to Cite
Chawalit Kodsiri ช. ข. (2021). ทิศทางและแนวโน้มของภาวะผู้นำทางการประถมศึกษาในยุค Digital Disruption: The Directions and Trends for Elementary Education Leadership in The Digital Disruption Era. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 17(1), 1–16. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/253407
Section
Academic Articles

References

กมลวรรณ จันทร์. (2564). การบริหารสถานศึกษายุคโลกพลิกผัน ฉลาดรู้ เท่าทันดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). รายงานพันธกิจของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.

ธนากิต เรียบเรียง. (2541). วันสำคัญไทย. กรุงเทพฯ: ปีรามิด.

พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช 2464. (2464, 23 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 38 หน้า 246.

พิชญ์สินี มะโน. (2562). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในยุค Digital Disruption ต่อการศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(1), 1-6.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2562). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3), 783-795.

ยุวดี ยิ้มรอด, และสำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2561). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 21-32.

วิชัย วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ในยุค Disruptive Innovation. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: 9119 เทนนิคพรินติ้ง.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). โลกเปลี่ยน คนปรับ หลุดจากกับดัก ขยับสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563. สืบค้น ธันวาคม 20, 2564 จาก http://www.ccs1.go.th /gis/eoffice/57000001tbl_datainformation/20200703174943JQaUHUy..pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการสังเคราะห์ตัวชี้วัดด้านการศึกษาไทยตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). เอกสารประกอบการระดมความเห็นกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 “ พลิกโฉมประเทศไทยสู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่าสังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน”. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1995). MLQ Multifactor Leadership Questionnaire, Leader Form, Rater Form, and Scoring. California. Palo Alto, CA: Mind Garden.

Derick Meado. (2016). The Role of the Principal in Schools. Retrieved May 2nd, 2021, from: http://teaching.about.com/od/admin/tp/Role-Of-The-Principal.htm

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Education administration: Theory, Research, and Practice. (6th ed.). New York: McGraw-Hill Book.

Innovation for Education. (2018). The OECD Handbook for Innovative Learning Environments. Retrieved May 2nd, 2021, from: https://www.oecd.org/education/ ceri/the-oecd-handbook-for-innovative-learning-environments-9789264277274-en.htm

OECD. (2019). OECD Future of Education and Skills 2030 Conceptual learning framework: LEARNING COMPASS 2030. Retrieved April 20th, 2021, from: https://www.oecd.org/education/2030-project/teaching-and-learning/learning/learning-compass-2030/OECD_Learning_Compass_2030_concept_note.pdf

WHO, UNICEF, & CIFRC (2020). Key Messages and Actions for COVID-19 Prevention and Control in Schools. Retrieved December 20th , 2021, from https://www.who.int/docs /default-source/coronaviruse/key-messages-and-actions-for-covid-19-prevention-and-control-in-schools-march-2020.pdf

York-Barr, J., & Duke, K. (2004). What do we know about teacher leadership?. Review of Educational Research, 74(1), 255-366. doi:10.3102/00346543074003255