การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 The Development of Teaching and Learning Management Model to Enhance Mathematics Problem-Solving Competency for Mattayomsuksa 6 Students

Main Article Content

เนตรนารี ไพโรจน์พิริยะกุล Natenaree Phairotphiriyakun

Abstract

       งานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ด้านกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้น และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 1 กิตติขจร อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก จำนวน 24 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้านกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมาก และครูผู้สอนมีสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตั้งต้นค้นความรู้ (Start: S) 2) ขั้นสำรวจและค้นหาข้อมูล (Survey: S) 3) ขั้นรวมพลังเป็นทีมในการแก้ปัญหา (Solving Teams: S) 4) ขั้นนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา (Share: S) และ 5) ขั้นสรุปความคิดรวบยอด (Summarize: S) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.10/87.22 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมาก และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด


        Research on the development of teaching and learning management model to enhance mathematics problem-solving competency for mattayomsuksa 6 students purpose of the research were: 1) to study of the problems and needs in the learning management by mathematics problem-solving process for mattayomsuksa 6 students, 2) to develop teaching and learning management model by using mathematics problem-solving process on the criteria of 80/80, 3) to experiment with the developed teaching and learning management model to enhance mathematics problem-solving, and 4) to evaluate the students’ satisfaction towards the teaching and learning management. The samples were 24 Mattayomsuksa 6/1 students of Tessaban 1 Kittikachorn School, Tak province, in the second semester of the 2020 academic year. They were selected by using cluster random sampling technique. The research instruments were: 1) the teaching and learning management model to enhance mathematics problem-solving competency, 2) the test form of academic achievement, 3) the estimation form of mathematics problem-solving competency, and 4) the questionnaire on students’ satisfactions toward the teaching and learning management model. Statistics used in this research were: means, standard deviation, and t-test. The results of research were as follows: 1) the students have difficulties and obstacles in learning math, students’ problem-solving mathematics process at a high level and the teacher needs teaching and learning activities at a high level, 2) the developed teaching and learning management model by using mathematics problem-solving process consists of principle, objective, content, teaching and learning process and evaluation. The teaching and learning process consists of 5 steps: 1) Start: S, 2) Survey: S, 3) Solving Teams: S, 4) Share: S, 5) Summarize: S and the efficiency was found at 85.10/87.22. 3) learning achievement of teaching and learning management model to enhance mathematics problem-solving competency for mattayomsuksa 6 students. After learning more than before with the developed teaching and learning management model at the statistically significant level .01 and mathematics problem-solving competency at a high level, and 4) the student’s satisfaction toward the teaching and learning management model to enhance mathematics problem-solving competency was found at the highest level.

Article Details

How to Cite
Natenaree Phairotphiriyakun เ. . ไ. (2021). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6: The Development of Teaching and Learning Management Model to Enhance Mathematics Problem-Solving Competency for Mattayomsuksa 6 Students. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 17(1), 17–32. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/253429
Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล 1 กิตติขจร. (2562). สารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. ตาก: กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์.

จารุมน หนูคง, และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (กรกฎาคม - ธันวาคม 2557). การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 5(2), 185-190.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2537). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปฐมพร บุญลี. (2545). การสร้างแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วราภรณ์ โชติรัตนากูล. (2554). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่องเรขาคณิต 2 มิติและ 3 มิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6: การวิจัยแบบผสานวิธี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิชุดา มาลาสาย. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสว่างแดนดิน. ทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ย้อนหลัง 5 ปี (2558-2562). สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2562, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/School/ReportSchoolBySchool.aspx?mi=2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Bell. (1993). Teaching and Learning Mathematics (In Secondary School). Dubuque lowa: WM.C. Brown Company Publishing.

Dick, W., Carey, L., & Carey, J. O. (2005). The systematic design of instruction. Boston, Massachusetts: Pearson/Allyn and Bacon.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2000). Models of teaching. (6th ed.). Massachusetts: Allyn and Bacon.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of teaching. Boston: Allyn and Bacon.

Maker, C. J. (1982). Teaching Models in Education of the Gifted. Taxas: PRO-ED.

Slavin, R. E. (1987). Cooperative Learning and Cooperative School. Education Leadership, 45, 7-13.