ถอดบทเรียนการจัดการกิจกรรมเดิน-วิ่งเสมือนจริงสะสมระยะทางเพื่อสุขภาพ : กรณีศึกษาโครงการนนทรีอีสานเวอร์ชวลรัน ซีซั่น 1 The Reflection of Event Management on Virtual Run Accumulate Distance for Health : A Case Study Nontri E-San Virtual Run Season I

Main Article Content

อรนภา ทัศนัยนา Ornnapa Tasnaina
ฤกษ์ชัย แย้มวงษ์ Ruekchai Yaemwong
ภุชงค์ รุ่งอินทร์ Phuchong Rungin

Abstract

            วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการจัดการกิจกรรมเดิน-วิ่งเสมือนจริงเพื่อสุขภาพ : กรณีศึกษาโครงการ Nontri E-san Virtual Run Season I โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการจัดการกีฬา ประกอบด้วย ด้านการวางแผน การจัดองค์การ การนำ/การปฏิบัติ และการควบคุม เก็บข้อมูลคณะกรรมการดำเนินงานจากการเลือกแบบเจาะจงโดยใช้แบบสัมภาษณ์จำนวน 2 คนและสุ่มอย่างง่ายคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อดำเนินการสนทนากลุ่ม จำนวน 7 คน จากนั้นนำมาสรุปและบรรยายเป็นความเรียง จากผลการศึกษาพบว่าบทเรียนความสําเร็จที่เกิดขึ้นกับโครงการนนทรีอีสานเวอร์ชวลรัน ซีซั่น 1 ประกอบไปด้วย โครงการมีขั้นตอนการดำเนินการครบถ้วนตามกระบวนการจัดการทั้ง 4 ด้าน โดยเน้นการจัดการแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในมหาวิทยาลัย มีคณะกรรมการดำเนินการจากทุกหน่วยงานซึ่งมีความสนใจและสมัครใจเข้าร่วมโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน มีความร่วมมือจากประชาชนภายนอกคือชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพที่มีประสบการณ์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ทีมงานมีการประชุมสม่ำเสมอโดยเฉพาะช่วงระหว่างกิจกรรมเพื่อระดมความคิดเมื่อพบปัญหาและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว การจัดกิจกรรมมีความสนุกสนานและท้าทายจนนำไปสู่การออกกำลังกายจนเป็นนิสัย ซึ่งการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายในรูปแบบเดิม ๆ ไม่มีการแข่งขันและของรางวัลมีแค่การรวมกลุ่มออกกำลังกาย ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมไม่เกิดความสนุกสนาน และความท้าทาย โครงการมีการวางเงื่อนไขของการแข่งขันและใส่ความท้าทายด้วยของรางวัลต่าง ๆ เช่น เสื้อรางวัล เหรียญรางวัล และโล่รางวัล ตลอดจนเกียรติบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมที่สามารถทำอันดับได้ตามกติกาที่กำหนด หากผู้เข้าร่วมมีความสนุกสนานได้แข่งขันเกิดความท้าทายแล้วจะส่งผลต่อออกกำลังกายสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยเป็นกิจวัตรซึ่งจะบรรลุเป้าหมายของการส่งเสริมการออกกำลังกาย


             The research was qualitative research. It aims to study of Event management on virtual run accumulate distance for health : A case study Nontri E-san Virtual Run Season I project. By using the principles of sports management process, consisting of planning, organizing, implementing and controlling. The data from the operating committee were collected using a 2-person interview form and a simple random of the operating committee for a focus group with 7 people and then summarized and described as an essay.


                The result illustrated, the success of project was that the project has complete implementation steps in all 4 areas in accordance with the management process, with emphasis on managing participation from all areas of the institution. There was an operations committee from all departments who are interested and participate voluntarily and without compensation. There was a collaboration from outside ,the public was an experienced health running club to create a network of collaboration. The team met regularly, especially during activities, to brainstorm when issues arise and resolve them quickly. Activity was so fun and challenging that it becomes a habit to play sports. Exercise activities the old way, There were not competitions and prizes, only group exercises. which prevents participants from having fun and challenging themselves The project sets the terms of the competition and provides challenges with prizes such as t-shirts, medals and plaques, and certificates for participants who can place according to the rules set. If participants enjoyed the challenge, it would lead to a regular exercise routine that would achieve the goal of promoting physical activity.

Article Details

Section
Research Articles

References

กลยุทธ จิตต์รุ่งเรือง. (2559). การเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2563 จาก http://www.acn.ac.th/articles/mod/forum/discuss.php?d = 236

กรมพลศึกษา. (2555). คู่มือผู้ตัดสินกีฬาฟุตซอล. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กองบริหารวิชาการและนิสิต. (2563). โครงการนนทรีอีสานเวอร์ชั่วรันซีซั่น 1. สกลนคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยา เขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

ชัยวัฒน์ บุญชวลิต. (2563). การพัฒนาทีมงาน ด้วยการประชุมทีมอย่างสม่ำเสมอ. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2563, จาก https://www.gotoknow.org/posts/309108

ประธานชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพจังหวัดสกลนคร, การสัมภาษณ์ 7 ธันวาคม 2562.

ประชุม สุวัตถี. ( 2551). การตลาดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนะบริหารศาสตร์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2537). ทฤษฎีองค์การเเละการออกแบบ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ฤกษ์ชัย แย้มวงษ์. (2562). การพัฒนากิจกรรมออกกำลังกายกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล. สกลนคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยา เขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร.

Armstrong, G., & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Burrow, J. L., Keindl, B., & Evarard, K. E. (2008). Business principles management. (12th ed.). Mason, OH: South Western.

Bridges, F. J., & Roquemore, L. L. (2004). Management for athletic/ sport administration: Theory and practice. (4th ed.). Decatur, Georgia: ESM Book.