การเปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป The Comparison of executive Functions of Students between the Jitsueksa PBL-and-PLC-Integrated School and the Regular School
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) วัดการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป 2) เปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมองระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) การวัดการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และนักเรียนโรงเรียนทั่วไป ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) เปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป มีการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมของนักเรียนในการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง พบว่า นักเรียนโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป ตัวบ่งชี้ ด้านความจำขณะทำงาน ด้านการริเริ่ม ด้านการควบคุมอารมณ์ ด้านการยับยั้ง และด้านการตรวจสอบตนเอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวบ่งชี้ด้านการวางแผนและการจัดการ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าโรงเรียนทั่วไป
The purposes of this research were: 1) to measure executive functions of primary students between the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school and the regular school. 2) to compare executive functions of primary students between the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school and the regular school. 3) to compare the primary-school students’ executive functions behaviors of primary students between the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school and the regular school. The sample of this research were 60 students who studied in grade 4-6 in academic year 2020. The instruments used for collecting data were the test of executive functions of primary students. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation (S.D.), and t-test. The findings were as follows: 1) The result of the measurement of the executive functions of primary students from the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school is higher than the regular school. The former school’s result is high. The latter school’s result is normal. 2) The executive functions skill of the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school are significantly higher than the regular school at .05 level 3) In overall, The working memory, initiation, emotional control, inhibit, and self-monitoring skills of the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school were significantly higher than the regular school at the .05 level. The planning skill of the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school were not significantly different than the regular school at the .05 level. The mean of the executive functions’ behavior level of the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school are higher than the regular school.
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2551). คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัมปนาท ศรีเชื้อ, และคณะ. (2561). การบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กัมพล เจริญรักษ์. (2559, เมษายน-มิถุนายน). การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC เพื่อปฏิรูปโรงเรียน. วารสารวิชาการ, 19(2), 30-45.
เกดิษฐ์ จันทร์ขจร, และคณะ. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). การสร้างแบบวัดการบริหารจัดการของสมองขั้นสูง (ฉบับประเมินตนเอง) สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 15(2), 25-36.
เกรียงวุธ นีละคุปต์, และประภาช วิวรรธมงคล. (2561, มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาแนวทางการพัฒนาโรงเรียนสุขภาวะ. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 2(1), 1-12.
คมสัน ณ รังสี และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยโครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดจิตศึกษา ของครูโรงเรียนประณีตวิทยาคม. (โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สพฐ.). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
จุฑามาศ แหนจอน, และคณะ. (2561, พฤษภาคม-สิงหาคม). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับวัยรุ่น. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(2), 220-230.
ชุติมา สรรเสริญ. (2560). การพัฒนาความสามารถการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
ชุมศิริ ตันติธารา. (2559). ผลการใช้โปรแกรมการสร้างวินัยเชิงบวกที่มีต่อการทำงานของสมองด้านการจัดการของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ฐาปณีย์ แสงสว่าง. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารการรู้คิด อารมณ์ และพฤติกรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. BU ACADEMIC REVIEW, 1(15), 14-28.
ฐาปณีย์ แสงสว่าง. (2559). ความสามารถคิดบริหารจัดการตน: แบบวัดและแนวทางการพัฒนาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ดุษฎี อุปการ, และอรปรียา ญาณะชัย. (2561, มกราคม-เมษายน). การเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ ของเด็กปฐมวัยควรเลือกใช้หลักการใด: “การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน” หรือ “การคิด เชิงบริหาร”. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, Silpakorn University, 11(1), 1635-1651.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล, และคณะ. (2555). การศึกษาและประเมินรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดเชิงบริหารในเด็กไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
พัชรินทร์ พาหิรัญ. (2561). ผลของโปรแกรมสมอง จิตใจ และการเรียนรู้ ต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมองในนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สมอง จิตใจ และ การเรียนรู้). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา. (2560). เครื่องมือพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์.
วัชรี กาศสนุก. (2559). การพัฒนาระบบ จิตศึกษาของโรงเรียนวัดโชคเกษม (เกษมราษฎร์บำรุง) โดยการเทียบเคียงสมรรถนะกับโรงเรียน ลำปลายมาศพัฒนา. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
วิเชียร ไชยบัง. (2558). จิตศึกษาพัฒนาปัญญาภายใน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). บุรีรัมย์: เรียนนอกกะลา.
ศศิ โพธิ์สุวรรณ. (2560, มกราคม-มิถุนายน). รูปแบบการพัฒนาครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบนฐานแนวคิดจิตศึกษาจากต้นแบบโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(1), 164-171.
สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2560). คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนเด็กวัยเรียน 6-12 ปี. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ. (2560). โรงเรียนสุขภาวะ การศึกษาแบบนวัตกรรมยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://resource.thaihealth.or.th/library/hot/16637
สิริยากร กองทอง. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (บริหารการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สุภามาส เทียนทอง. (2553). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการนิเทศ), มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สุภาวดี หาญเมธี. (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิต และป้องกันยาเสพติด คู่มือสำหรับครูอนุบาล. กรุงเทพฯ: รักลูกบุ๊คส์.
Best, J. R., Miller, P.H., & Jones, L.I. (2009). Executive functions after age 5 : Changes and correlates. Developmental Review, 29(3), 180 – 200.
Gioia, G. A., et al. (2000). Professional Manual Behavior Rating Inventory of Executive Function. Florida: PAR.