การสร้างรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา Constructing the Evaluation Learning Management Model Based on STEM Education Approach for High School Teachers

Main Article Content

ณัฐพล โยธา Nattapon Yotha
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน Songsak Phusee-orn

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา 2) สร้างรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการประเมินฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์เอกสารและการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการประเมินฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบการประเมินฯ 2) แบบประเมินคู่มือการประเมินฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาในส่วนที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและส่วนที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูระดับมัธยมศึกษาพบว่า 1) ปัจจุบันการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษายังไม่มีการติดตามประเมินการจัดการเรียนการสอนของครูและไม่มีแนวทางการประเมินที่ชัดเจน 2) ปัญหาของการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาพบว่าครูไม่มีรูปแบบในการประเมินการจัดการเรียนรู้ 3) มีความต้องการรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีความชัดเจน มีขั้นตอนในการประเมินที่เป็นระบบ เหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประเมินในสถานการณ์จริง 2. รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูระดับมัธยมศึกษาประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) ความมุ่งหมายการประเมิน 2) สิ่งที่มุ่งประเมิน 3) วิธีการประเมิน 4) แหล่งผู้ประเมิน 5) เกณฑ์การประเมิน และ 6) การสะท้อนผลการประเมิน


             The purposes of the current study were 1) to investigate the current situation, problems, and needs for constructing an evaluation learning management model based on the STEM Education approach for high school teachers and 2) to construct an evaluation learning management model based on the STEM Education approach for high school teachers. The study was divided into 2 phases: Phase 1 was the investigation of the current situation, problems, and needs for constructing the model. The targets were 7 experts. The instrument was a semi-interview form. The data were analyzed by document analysis and content analysis. Phase 2 was the development of an evaluation learning management model. The targets were 12 experts. The instruments were 1) an evaluation form with the appropriateness and feasibility of the model and 2) an evaluation form for the evaluation learning management model manual. The data were analyzed by content analysis, arithmetic mean, and standard deviation. The results of the study were as follows. 1. In terms of the current situation, problems, and needs for constructing an evaluation learning management model based on the STEM Education approach for high school teachers, 1) it could be noted that high schools lack systematic management of STEM Education evaluation, 2) teachers have failed to apply evaluation of STEM Education. Most teachers evaluated the assignments and projects, and 3) clear procedures of STEM Education were needed. Moreover, systematization, convenience, feasibility, were recommended by the participants to develop a model that is effective in developing teachers’ evaluation ability. 2. An evaluation learning management model based on the STEM Education approach for high school teachers includes 6 components which are 1) purposes of the evaluation, 2) expected outcomes, 3) evaluation methods, 4) evaluators, 5) criteria, and 6) evaluation reflection.

Article Details

How to Cite
Nattapon Yotha ณ. โ., & Songsak Phusee-orn ท. . ภ. (2021). การสร้างรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา: Constructing the Evaluation Learning Management Model Based on STEM Education Approach for High School Teachers. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 17(1), 117–130. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/253597
Section
Dissertations

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2562). การพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.

กุศลิน มุสิกุล, กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์, โชคชัย ยืนยง, พรทิพย์ ศิริภัทราชัย, นาคิน สัจจะเขตต์, ศิวะ ปินะสา และคนอื่น ๆ . (2562, 25 เมษายน). สัมภาษณ์.

ฐิติวรดา พลเยี่ยม. (2561). สะเต็มศึกษา: ความเข้าใจเบื้องต้นสู่ห้องเรียนบูรณาการ .วารสารครุพิบูล, 5(2), 121-135.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 2(2), 49 – 56.

พิสณุ ฟองศรี. (2551). การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

เพ็ญประภา กั้วพิทักษ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาต่างประเทศระดับประถมศึกษา โรงเรียนมาตรฐานสากล. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.), 42(185), 15 – 16.

รัตนะ บัวสนธ์. (2563). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2559). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM EDUCATION (สะเต็มศึกษา). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การวิจัยและพัฒนาการศึกษาไทย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 1–18.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2562). ทฤษฎีการประเมิน พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2558). คู่มือเครือข่ายสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

สุทธิดา จำรัส. (2559). สะเต็มศึกษาบนเส้นทางวิชาการรับใช้สังคม: จุดเปลี่ยนการเรียนรู้สู่อนาคต. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(3), 34 - 47.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.), 42(186), 3 – 5.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิตย์ อาจหาญ. (2558). การพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Berry, M., Chalmers, C., & Chandra, V. (2012). STEM futures and practice, can we teach STEM in a more meaningful and integrated way?. In Yu, Shengquan (Ed.) 2nd International STEM in Education Conference., Beijing, China: n.p.

Nevo, D. (1983). The conceptualization of Educational evaluation: An analytical review of the literature. Review of Educational Research, 53 (3), 117-128.

Vasquez, J; Sneider, N., & Comer, M. (2013). STEM Lesson Essentials, Grades 3-8. Portsmouth, New Hampshire: Heinemann.