การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Research and Development of Additional Course Curriculum on Nakhon Sawan Chinese New Year Festival for Mathayomsuksa 1 Students

Main Article Content

สุภาพร ปรีดา Supaporn Preeda

Abstract

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ เกี่ยวกับผลการเรียนรู้ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องต้องการให้พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม คาดหวังให้นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และแผนการจัดการเรียนรู้ 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ พบว่านักเรียนมีความสนใจ ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ 4) ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด


              The purposes of this research were 1) to study the basic to the development of additional course curriculum on Nakhon Sawan Chinese New Year festival for Mathayomsuksa 1 students, 2) to develop the additional course curriculum on Nakhon Sawan Chinese New Year festival for Mathayomsuksa 1 students, 3) to implement the additional course curriculum on Nakhon Sawan Chinese New Year festival for Mathayomsuksa 1 students and 4) to evaluate and improve the additional course curriculum on Nakhon Sawan Chinese New Year festival for Mathayomsuksa 1 students involving learning outcomes and to explore the students’ satisfaction.
The samples in Mathayomsuksa 1 students were 32 students in the first semester of the 2020 academic year. They were selected by using cluster random sampling technique. The research instruments were the curriculum, lesson plans, tests and the satisfaction questionnaire. The data was analyzed by percentage, mean, standard deviation,
t-test and content analysis. The result were as follows 1) Students and involved persons needed to develop the additional course curriculum. Students are anticipated to study about Nakhon Sawan Chinese New Year festival. 2) The developed curriculum consisted of principle, objectives, course description, learning outcomes, course structure, learning management, media and resources, measurement and evaluation and lesson plans. 3) The research results ofthe additional course curriculum on Nakhon Sawan Chinese New Year festival for Mathayomsuksa 1in learning constructivism found that the students were interested in the curriculum and intended to practice the activities. 4) The evaluation and improvement of the additional course curriculum on Nakhon Sawan Chinese New Year festival found that after the implementation course curriculum the mean scores on posttest were higher than pretest with statistically significant at .05 level and students’ satisfaction was at the highest level.

Article Details

Section
Research Articles

References

ศึกษาธิการ. กระทรวง. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉ.3) 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ทวิช ลักษณ์สง่า. (2557). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), 388-406.

ธีระศักดิ์ แสนท้วม. (2558). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง ระบำชักพระ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการนิเทศ). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ปิยวรรณ ทองสุข. (2557). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยพิบัติน้ำท่วม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์. (2563). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์พุทธศักราช 2563. นครสวรรค์: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

อัญชลี อินทิยา. (2559). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมการใช้ทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10(2), 228-243.

Tyler, Ralph.W. (1949). Basic principle of curriculum and instruction. Chicago: The University of Chicago.