การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม The Development of Local Learning Units Based on the Educational Nakhon Sawan by Using Community - Based Learning to Develop the Learning Process of Students in the 21st Century for Promotion of Cultural Tourism

Main Article Content

เยาวเรศ ภักดีจิตร Yaowares Pakdeejit

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ ศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และเพื่อเผยแพร่และขยายผลการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคคลในชุมชน เครือข่ายชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนในสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินคุณภาพหน่วยการเรียนรู้ 2)แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ 4) บทเรียนท้องถิ่นการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสังเคราะห์ข้อมูลเรียบเรียงเขียนเป็นความเรียง
ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา มีจำนวน 4 หน่วย ได้แก่ 1) ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครสวรรค์ 2) กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ 3) ขนบธรรมเนียมประเพณีของจังหวัดนครสวรรค์ และ 4) แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.31, S.D. = 0.28)
2. ผลการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ อธิบาย นำเสนอผลงาน มีส่วนร่วมกิจกรรม แสดงความคิดเห็นและจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ และนักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.26, S.D. = 0.52)
3. การเผยแพร่และขยายผลการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นบนฐานนครสวรรค์ศึกษา ด้วยการส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ให้กับครูผู้สอนจังหวัดนครสวรรค์
         The purposes of this research were to develop local learning units based on Nakhon Sawan studies base to develop learning processes of learners in the 21st century, to study the results of learning management in local learning units on Nakhon Sawan education base with community-based learning management and to disseminate and expand the results of the development of local learning units based on Nakhon Sawan education to develop the learning process of learners in the 21st century. The population used in the research was community individuals, community networks school administrators, teachers and students under the Nakhon Sawan secondary educational service area office. The tools which are used in this research include 1) the unit quality assessment form 2) observation model for learning behavior 3) satisfaction questionnaire and 4) local lesson. Data analysis were mean, standard deviation and synthesize the data, compose, write as a sort.
The finding results show that:
1. The development of local learning units based on Nakhon Sawan education consisted of 4 units: 1) history of Nakhon Sawan province 2) ethnic groups in Nakhon Sawan province 3) traditions and traditions of Nakhon Sawan province and 4) tourist attractions in Nakhon Sawan province there is a high level of quality ( gif.latex?\bar{X}= 4.31, S.D. = 0.28).
2. Results of learning management in local learning units based on Nakhon Sawan education learners can analyze development, explain, present their work, participate in activities, comment and make publicity brochures and students are satisfied with the local learning unit overall, it is at a high level (gif.latex?\bar{X} = 4.26, S.D. = 0.52).
3. Disseminating and expanding the results of the development of local learning units based on Nakhon Sawan education by sending electronic documents and organized training workshops to develop learning units for teachers in Nakhon Sawan province.

Article Details

Section
Research Articles

References

ฐาปกรณ์ จิ๋วสุข. (2562). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการท้องถิ่น “เมืองทัพทัน”สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พูลจิต หลี่อินทร์. (2556). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ เรื่อง วัฒนธรรม ประเพณี ในท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชน หนองเม็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฟาดีละฮ์ ศรัทธาสุภัคกุล. (2559). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง พืชภูมิปัญญาที่ใช้กระบวนการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 37 – 46.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2561). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการและสังคมศาสตร์, 13(37), 47 - 60.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2557). นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.gotoknow.org/posts/565909

วิชัย วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. (2552). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา: กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: จรัสสนิทวงศ์การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bedri, Z., de Frein, R., & Dowling, G. (2017). Community-based learning: A primer. Irish Journal of Academic Practice, 6(1). Retrieved from https://arrow.dit.ie/ijap/vol6/iss1/5

Saavedra, A. R., & Opfer, V. D. (2012). Teaching and learning 21st century skills: Lessons from the learning sciences. Retrieved from https://asiasociety.org/education/teaching-and-learning-21st-century-skills