ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานพาณิชย์จังหวัด The Morale and Support in the Performance of Provincial Commercial Office

Main Article Content

ธิติยา กิด่วน Thitiya Kiduan
ภิรดา ชัยรัตน์ Pirada Chairatana
อรนันท์ กลันทปุระ Oranun Gluntapura

Abstract

         การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน 2) ระดับแรงจูงใจของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานพาณิชย์จังหวัด 3) เปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน 5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยค้ำจุนกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ทั้ง 76 แห่ง จำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   ผลการศึกษาพบว่า ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานพาณิชย์จังหวัด อยู่ในระดับมาก แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่มีอายุงาน และกลุ่มงานแตกต่างกันมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ในขณะที่ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนต่าง มีความสัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานพาณิชย์จังหวัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  


        The objective of this research were to 1) study the level of the morale in the performance 2) study the level of job motivation 3) compare the morale in the performance classified by personal factors and morale in the performance 4) study the relationship between the motivation factor and the morale in the performance 5) study the relationship between the hygiene factor and the morale in the performance.   The research sample consisted of 300 personals in the Provincial Commercial Office. Data were collected by questionnaires and analyzed by statistical software. The statistical tools used were percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The level of statistical significance was set at .05.  The results of this research showed that the morale in the performance of the Officer in the Provincial Commercial Office was at high level. The job motivation was at moderate. The hypothesis testing related that the difference in working life and work group had the difference opinion about the morale in the performance of the officer in Provincial. Meanwhile, the motivation factor and hygiene factor were related to the morale in the performance of the officer in Provincial at the .05 level of significance.

Article Details

How to Cite
Thitiya Kiduan ธ. . ก., Pirada Chairatana ภ. . ช., & Oranun Gluntapura อ. . ก. (2021). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานพาณิชย์จังหวัด: The Morale and Support in the Performance of Provincial Commercial Office. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 17(1), 105–116. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/253680
Section
Research Articles

References

กระทรวงพาณิชย์. (2560). กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์.

เกียรติคุณ พลเยี่ยม. (2556). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.

ชาญสิทธิ์ วารี. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 7(20).

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ซูใบดะห์ ยูโซะ. (2553). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานการณ์ความไม่สงบสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ทิวากร ศิริพงษ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาล ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีสิจัยทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: พิมพลักษณ์.

บริสุทธิ์ อธิจิต. (2556). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนจังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาจุฬ่ลงกรณราชวิทยาลัย, นครสวรรค์.

บุญเลิศ สิริภัทรวณิช. (2541). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจในการทำงานและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรที่ทำงานกับคนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Douglas McGregor. (1961). Human motivation. New York: Cambridge University Press.

Frederick Herzberg, Bernard Mausner, & Barbara B. Snyderman. (1959). The Motivation to Work: John Wiley & Sons.