การพัฒนาโปรแกรมแนะแนวแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น Development of Participatory Guidance Programs for Enhancing Digital Intelligence for Lower Secondary School Students

Main Article Content

นงลักษณ์ เขียนงาม Nongluck Kienngam

Abstract

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนาโปรแกรมแนะแนวแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และพัฒนาโปรแกรมแนะแนวแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหาร ครูแนะแนว ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจำนวน 23 โรงเรียน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพและความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนาโปรแกรมแนะแนว การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลำดับด้วยวิธี Priority Needs Index นำผลการศึกษามาสร้างโปรแกรมแนะแนวแบบมีส่วนร่วมด้วยการสนทนากลุ่มกับครูแนะแนวได้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 10 กิจกรรม จากนั้นได้ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยวิธีการคัดเลือกตามความสมัครใจจำนวน 3 โรงเรียน โรงเรียนละ 30 คน รวม 90 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ โปรแกรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัล แบบวัดความฉลาดทางดิจิทัล แบบวัดพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคกำลังสอง (Chi-square) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way Repeated Measure MANOVA)  


                ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนาโปรแกรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัล ด้านความมั่นคงทางดิจิทัล มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการใช้เครื่องมือและสื่อดิจิทัล ด้านความฉลาดทางอารมณ์บนโลกดิจิทัล และด้านสิทธิทางดิจิทัล 2) โปรแกรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลที่ได้สร้างและพัฒนามีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินโปรแกรมแนะแนวโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 3) นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมแนะแนวมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางดิจิทัล ก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมแนะแนว (Pretest) และคะแนนหลังการเข้าร่วมโปรแกรมแนะแนว (Posttest) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และระดับการติดสื่อสังคมออนไลน์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดโปรแกรมแนะแนวทุกด้านอยู่ในระดับมาก


            The purposes of this research were to investigate needs assessment for the development of participatory guidance programs for enhancing digital intelligence for lower secondary school students, and to develop guidance programs for enhancing digital intelligence of the students. The samples used in this research were administrators, guidance teachers and parents of the students. The research instrument used in this study was the need assessment questionnaire. The Priority Needs Index method was used for analysing of data. The results of this study were used for the development of the effectiveness of the guidance program. The sample used were 90 students from 3 lower secondary schools in Mueang District, Chiang Mai Province, i.e. 30 students from each school. The participated students were voluntarily participation in the activity. The research instrument used in the study were Guidance Programs for Enhancing Digital Intelligence, Digital Intelligence Quotient Measure, Social Media Behavior Measure and Satisfaction Questionnaire. The statistical parameters and methods used for analyzing the collected data were mean, standard deviation, Chi-square test and One-way Repeated Measure MANOVA.


                The results showed that 1) there was the need for students to develop digital intelligence. The digital security has the highest demand for development, following by digital use and digital emotional intelligence and digital rights. 2) A digital intelligence-enhancing guidance program created and developed with content-accuracy and assessment of the guidance program was evaluated by 5 experts. The evaluated results showed that it was at a very suitable level. 3) The students who participated in the guidance program had average digital intelligence scores; the pre-test scores and the post-test scores were significantly different at the 0.01 confidence level. For the social media addiction levels, the pre-test and post-test were different at the 0.05 confidence level. 4) Students were highly satisfied with their participation in the guidance program.

Article Details

Section
Research Articles

References

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต. (2562). โรคติดเกมเป็นโรคจิตเวช ส่งผลเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น วิตกกังวล ซึมเศร้า และก้าวร้าว. สืบค้นจาก https://workpointtoday.com/g-3/

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจ.เอส.การพิมพ์.

ชาญวิทย์ พรนภดล, และคณะ. (2556). การพัฒนาแบบทดสอบการติดเกมสำหรับเด็กและวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(1), 3-14.

ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์. (2546). การศึกษาจิตลักษณะบางประการที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการเสี่ยงทางเพศและทางการใช้ยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ธนชาติ นุ่มนนท์. (2564, 28 พฤษภาคม). จัดอันดับ “รับมือ Fake News” เยาวชนไทยติดรองสุดท้าย. กรุงเทพธุรกิจ, น.17.

ธีรวัฒน์ รูปเหลี่ยม. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ธีรวุฒิ เอกกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร และสังคมศาสตร. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

บุปผา เมฆศรีทองคำ, และอรยา สิงห์สงบ. (2552). สภาพการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตของเด็กและเยาวชนไทยตามช่วงพัฒนาการแห่งวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

บุหงา ชัยสุวรรณ, และพรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2558). พฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-19 ปี. วารสารการสื่อสารและการจัดการ. 1(1), 31-57.

ประสิทธิ์ สนั่นรัมย์. (2564). พลังครูไทยวิธีใหม่ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล.สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.ksp.or.th.

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2545). การสร้างมาตรประเมินและปกติวิสัยของความฉลาดทางอารมณ์สำหรับวัยรุ่นไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พนม คลี่ฉายา. (2563, 12 กุมภาพันธ์). ลม เปลี่ยนทิศ หมายเหตุประเทศไทย. “คนไทยเสี่ยงทุกกลุ่มอายุจากความรุนแรงบนโลก. ไทยรัฐ, น. 5.

พิศุทธิภา เมธีกุล. (2561). โปรแกรมพัฒนาการรู้เท่าทันดิจิทัลและพฤติกรรมการใช้ดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนของนักศึกษาวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

พีระ จิระโสภณ, และคณะ. (2559). ความรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัลกับบทบาทในการกำหนดแนวทาง การปฏิรูปการสื่อสารในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

วรลักษณ์ สงวนแก้ว. (2558). Digital Citizens: พลเมืองดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564, https://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-59(500) /page2-1-59 (500).html.

วิไลภรณ์ จิรวัฒนเศรษฐ์. (2559). เด็กยุคดิจิทัลภายใต้สังคมแห่งสื่อออนไลน์และการเรียนรู้ทางสังคม. วารสารอนาคตวิทยาทางการศึกษา (Journal of Education Futurology: JEF), 1(1), 1-11.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2553). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้เรียนและคุณภาพเยาวชน. (2559). 8 ทักษะ “ความฉลาดทางดิจิตอล” ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564, จาก www.qlf.or.th

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนพัฒนาการแนะแนวและแนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนว ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2561-2565) ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564, จาก www.guidestudent.obec.go.th

Brooke Donald. (2019). High School Students are Unprepared to Judge the Credibility of Information on the Internet, According to Stanford Researchers. Stanford News, (650) 721-1402. Retrieved from https://news. Stanford edu.

Twigg, R. J. (2020). The need for digital intelligence in the time of social distancing. KM World. 29(4), 25-26.

Dostál, J., Xiaojun Wang, Steingartner, W., & Nuangchalerm, P. (2017). Digital Interlligence - new concept in context of future of school education. Proceedings of ICERI2017 Conference. 16th-18th November 2017, Seville, Spain3706-3712.