ผลการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดลที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 The Effect of Learning Management According to Polya’s Problem Solving Process with Bar Model Techniques Towards Problem Solving Ability and Attitudes Towards Mathematics Learning of Matthayomsuksa 2 Students
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดล 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ ฯกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 50 คะแนน และ 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ฯ กับเกณฑ์ระดับมากซึ่งเท่ากับ 3.51 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนหนองฉางวิทยา จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีความเหมาะสมของแผนฯ มากที่สุด (=4.51, S.D.=0.58) 2) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เป็นแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ โดยมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.34-0.53 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.54-0.71 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และ 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 24 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบแบบที กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระจากกัน และกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ฯ มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหลังเรียน (=39.97, S.D.=3.76) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 22.46, S.D.=3.78) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ฯ มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคิดเป็นร้อยละ 79.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 50 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ฯ มีเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ( = 4.19, S.D.=0.24) สูงกว่าเกณฑ์ระดับมากซึ่งเท่ากับ 3.51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were 1) to compare the problem solving ability of Mathayomsuksa 2 students before and after learning by learning management according to polya’s problem solving process with bar model techniques. 2) to compare the problem solving ability of Mathayomsuksa 2 students after learning and the criteria at 75% and 3) to compare the attitudes towards mathematics learning of Mathayomsuksa 2 students and the criteria at high level. The samples consisted of 39 Mathayomsuksa 2/5 students of Nongchang Wittaya School. They obtained by using Multi-stage Sampling. Research instruments included 1) lesson plan are satisfied at the most appropriate quality (= 4.51, S.D. = 0.58) 2) problem solving ability test which is a subjective model of 5 items, with degree of difficulty between 0.34-0.53, the discrimination between 0.54-0.71 and reliability of 0.94 and 3) attitudes towards mathematics learning test with a 5-level rating scale, 24 items, with a reliability of 0.87. Statistics used for data analysis, t-test dependent sample, and t-test one sample.
The research findings were as follows:
1. The post-test mean score of problem solving ability in Mathayomsuksa 2 students after learning (= 39.97, S.D.=3.76) which was higher than the pre-test mean score of problem solving ability ( = 22.46, S.D. = 3.78) at the .05 level of significance. 2. The problem solving ability of Mathayomsuksa 2 students after learning had 79.94 percentage score of total scores. Which was higher than the criteria at 75% at the .05 level of significance. 3. The mean score of the attitudes towards mathematics learning in Mathayomsuksa 2 students after learning ( = 4.19, S.D. = 0.24) was higher than the criteria at high level at the .05 level of significance.
Article Details
References
กรองทอง ไคริรี. (2554). แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้บาร์โมเดล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอ ทีม บิสซิเนส.
กรองทอง ไคริรี. (2554). หนังสือคณิตศาสตร์ Discovering Mathematics 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาดา เอ็ดดูเคชั่น.
ฉัตรกาญจน์ ธานีพูน. (2563, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเลขคณิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(1), 93-106.
ธัญญรัตน์ กันทะลือ. (2555). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคของโพลยา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ประถมศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
นภสร ยั่งยืน. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการโพลยาร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดลเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 15(2), 67-79.
นวลฤทัย ลาพาแว. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการวิจัย กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(2), 55-64.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพ เส้นทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สมวงษ์ แปลงประสพโชค. (2554). การสอนการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์. วารสารคณิตศาสตร์, 55(626-628), 18-37.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สุพัตรา เส็งเอี่ยม. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยาและเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องการบวก ลบ คูณ และหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
Bruner, J.S., et al. (1966). Study in cognitive growth. New York: John Wiley & Son.
National Council of Teacher of Mathematics. (2000). Principles and standards for school mathematics. Virginia: Author.
Polya, G. (1957). How to solve it. New Jersey: Princeton University Press.