การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผล นักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) The Development of Reading Literacy Enhancement Program by Program for International Student Assessment (PISA)

Main Article Content

ประวิทย์ รักษาแสง Prawit Ruksasaeng
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน Songsak Phusee-orn

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) 2) พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบทดสอบ แบบประเมินการใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) พบว่า 1.1) ปัญหาเกิดจากนักเรียนขาดกระบวนการคิดจากเรื่องที่อ่าน ขาดทักษะกระบวนการอ่านจับใจความ มีปัญหาด้านความเข้าใจในใจความสำคัญ ขาดทักษะการตีความเนื้อเรื่อง ขาดกระบวนการอ่านเพื่อการสื่อ มีปัญหาด้านทักษะที่จะวิเคราะห์เนื้อเรื่อง การให้ข้อโต้แย้งจากมุมมองของตนเองยังไม่มีเหตุผล 1.2) สาเหตุเกิดจากขาดแรงจูงใจในการเรียน ขาดกระบวนการคิดจากเรื่องที่อ่าน ไม่สามารถอ่านจับใจความได้ ขาดความเข้าใจในการอ่านจับใจความสำคัญ ไม่สามารถการตีความเนื้อเรื่องเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในสิ่งที่อ่าน ขาดทักษะที่จะวิเคราะห์เนื้อเรื่อง นักเรียนให้การโต้แยงโดยใช้มุมของของตนเองไม่นำเนื้อความมาใช้ในการโต้แย้งเหตุผล 1.3) แนวทางแก้ไขข้อบกพร่องแยกออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านนักเรียน เพิ่มการฝึกอ่านบทความในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น มีการนำข้อสอบมาให้นักเรียนฝึกทดสอบเป็นประจำ 2. ด้านครู จัดกิจกรรมแบบ SQ4R, CIRC, KWL – Plus, MAI แทรกตัวอย่างบทความให้นักเรียนได้มีการฝึกเป็นประจำ กำหนดนักเรียนให้อ่านบทความจำนวน 2 เรื่อง ต่อสัปดาห์ 2. ผลการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) พบว่า โปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) ประกอบด้วย 20 หน่วย รวมการปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศ ในหน่วยที่ 1 และ20 ประกอบด้วย จุดประสงค์ เนื้อหา สื่อ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม การวัดและประเมินผล ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญโดยรวม มีความเหมาะสมในระดับมาก


        The objectives of this research were 1) to study problems, causes and solutions for defects in reading literacy according to the Program for International Student Assessment (PISA) 2) Develop a program to promote reading literacy. According to the Program for International Student Assessment (PISA) The sample of students at two of the 35 instruments used in the research was at an interview , observation, testing and evaluation of the program. Data were analyzed by mean, standard deviation. The results showed that 1.The result of the study of the problem causes and solutions for reading literacy defects according to the Program for International Student Assessment ( PISA ) guidelines, it was found that 1.1) The problem arises from students' lack of thinking process from what they read, lack of reading comprehension skills have difficulty understanding the essence, lack of interpretation skills lack of reading process for media .There is a skill problem in analyzing the story. Giving arguments from one's own perspective is unreasonable. 1.2) The cause is due to lack of motivation in learning. Lack of thought process from reading unable to read comprehension ,lack of reading comprehension in inability to interpret the passages to lead to an understanding of what is read lack of skill to analyze the story Students make arguments using their own point of view, not arguing with arguments. 1.3) Guidelines for solving the deficiencies are divided into 2 areas as follows: 1. Students side: Increase practice of reading articles in daily life more. Exams are brought to students to practice testing regularly. 2. Teachers organize activities like SQ4R, CIRC, KWL – Plus, MAI to insert sample articles for students to practice regularly. Assign students to read two articles per week. 2. The results of the program development revealed that the program consisted of 20 units, including orientation and final orientation in units 1 and 20, consisting of objectives, content, media, and process of activities. measurement and evaluation Overall expert evaluation results There is a high level of suitability.

Article Details

How to Cite
Prawit Ruksasaeng ป. ร., & Songsak Phusee-orn ท. . ภ. . (2021). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน ตามแนวทางโครงการประเมินผล นักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA): The Development of Reading Literacy Enhancement Program by Program for International Student Assessment (PISA). SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 17(1), 131–144. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/254037
Section
Dissertations

References

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). ปัจจัยที่ทำให้ระบบโรงเรียประสบความสำเร็จ ข้อมูลพื้นฐานจากโครงการ PISA 2012. กรุงเทพฯ: เปเปอร์ พริ้นท์.

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ณัฐธิดา โยธา. (2559). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่านตามแนวทางการประเมินผล PISA. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,มหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด, และคณะ. (2558). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ประภาพร ดวงโทโคตร. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรู้เรื่องการอ่าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

OECD. (2016). PISA 2015 Assessment and Analytical Framework: Science, Reading, Mathematic and Financial Literacy, PISA. Paris: OECD Publishing.