การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชิงจำนวน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา The Development of Mathematics Learning Activities to Promote Number Sense for Primary School Students

Main Article Content

ภัณฑิรา ศรีใจ Pantira Srijai
สมบัติ ท้ายเรือคำ Sombat Tayraukham

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชิงจำนวนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้สึกเชิงจำนวน ก่อน-หลัง จากการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชิงจำนวนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านศรีดอนชัย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 42 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชิงจำนวน 18 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง และแบบทดสอบความรู้สึกเชิงจำนวน เป็นแบบทดสอบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบเติมคำตอบ 7 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบวัดซ้ำทางเดียว 


                ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ .2632 ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 88/91/56.94  และ 2) ก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนความรู้สึกเชิงจำนวนเฉลี่ยเท่ากับ 15.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 6.37 ส่วนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 21.07 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 5.00 และผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบวัดซ้ำทางเดียวของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่าทุกองค์ประกอบคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


             The purposes of this research were to develop of Mathematics Learning Activities to Promote Number Sense for Primary School following the standard criteria 70/70. And to compare the result of pre-test and post-test activity by using Mathematics Learning Activities to Promote Number Sense for Primary School. The sample of this research consisted 42 grade 4-6 students, during the second semester in the academic year 2020 at Ban Sridonchai School Fang district, Chiang Mai province. Which was chose by cluster random sampling. The instruments using collected by Mathematics Learning Activities to Promote Number Sense 18 lessons plans and objective test 30 Items and subjective test 7 scales. Data was analyzed by mean standard deviation and One-way repeated measure MANOVA


                The research findings were as follow: 1) The overall of Mathematics Learning Activities to Promote Number Sense were 26.32 (E.I.). All of Mathematics Learning Activities to Promote Number Sense were qualifying. The average of E1 is 88.91 and E2 is 56.94, and 2) The achievement of posttest average was  = 21.07 (S.D. = 5.00) and pretest average was  = 15.38 (S.D. = 6.37). The results of One-way repeated measure MANOVA showed that the post-test score of all factor of number sense is higher than pre-test score at the .01 level of significance.

Article Details

Section
Dissertations

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เกศินี เพ็ชรรุ่ง. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ณัฐภร อินทุยศ. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: บริษัท วี. พริ้นท์ (1991) จำกัด.

นงนุช แก้วคำชาติ. (2553). การพัฒนาแบบฝึกความรู้สึกเชิงจำนวน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

นพพร แหยมแสง. (2560, 7 มิถุนายน). คณิต ป.4 เรื่องที่ 94 (สำหรับครู) ความรู้สึกเชิงจำนวน (Number sense). https://www.youtube.com/watch?v=6k3D2JiP8Pc

ปริญญา เมืองมูล. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการใช้รูปแบบการสอน เอส ที เอ ดี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พจนา จิระกาล. (2553). การพัฒนากิจกรรมการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การวิจัยและประเมิน). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545 ก). เอกสารเสริมความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้สึกเชิงจำนวน (Number sense). กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาธุรกิจสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545 ข). เอกสารเสริมสำหรับครู กิจกรรมในห้องเรียนเพื่อพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวน. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาธุรกิจสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). รายงานประจำปี 2558. https://www.niets.or.th/uploads/content_pdf/pdf_1493191767.pdf

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2559). รายงานประจำปี 2559. https://www.niets.or.th/uploads/content_pdf/pdf_1503649895.pdf.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). รายงานประจำปี 2560. https://www.niets.or.th/uploads/content_pdf/pdf_1533870929.pdf.

Burton, G. (1994). Number sense and Operation. Curriculum and Evaluation Standards for School Mathematics Addenda Series Grades K – 6. Verginia: The National Council of Teacher of Mathematics.

Hope, J. (1989). Promoting Number sense in School. Arithmetic Teacher 36, 6, 12-16.

Howden, H. (n.d.). Teaching Number Sense. Arithmetic Teacher 36, 6, 6-11.

Reys, R.E. and others. (1992). Early Development of Number sense and Counting. Helping Children Learn Mathematics. Boston: Simon & Schusterp.