ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมฝ่ายปากเรือ ณ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาชุมพร Satisfaction of the Trainees in the Naval Division at the Regional Harbor Office, Chumphon Branch

Main Article Content

ฐิติ อุณยเกียรติ Thiti Unyakiat
ศรีรัฐ โกวงศ์ Srirath Gohwong
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ Wanlop Rathachatranon

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชน 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเนื้อหาการอบรมสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาชุมพรกับความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการอบรมฝ่ายปากเรือ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาชุมพร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการอบรมฝ่ายปากเรือ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาชุมพร จำนวน 360 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


             ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการเดินเรือในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด ระดับประกาศนียบัตรแตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อการใช้บริการอบรมฝ่ายปากเรือ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาชุมพรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในส่วนของความรู้ความเข้าใจในการเดินเรือ ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการอบรมของฝ่ายปากเรือ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาชุมพรในภาพรวมและรายด้าน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


          The objectives of research were 1) to study the level of the satisfaction 2) to compare the level of the satisfaction 3) to study the knowledge and understanding factors and the opinions satisfaction of the trainees in the naval division at the regional harbor office, Chumphon Branch.   The sample was 360 personals in the trainees in the naval division at the regional harbor office, Chumphon Branch. Data were collected by questionnaires and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The level of significance was set at .05.


           The results of the study showed that the trainees in the naval division at the regional harbor office, Chumphon Branch had satisfied in knowledge and understanding of sailing at a top level. The hypothesis testing reviewed that gender, age, marital status, highest level of education, certificate with different there were opinions about satisfied of the trainees in the naval division at the regional harbor office, Chumphon Branch ice at the .05 level of significance. The knowledge and exposure to information about Basic Seafarer Program weren’t related to the satisfaction of the trainees in the naval division at the regional harbor office, Chumphon Branch.

Article Details

Section
Dissertations

References

จรัส โพธิ์จันทร์. (2553). ความพึงพอใจในการท างานของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาล ในภาคเหนือ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

จิราพร กําจัดทุกข์. (2552). ความพึงพอใจหลังการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2552). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2557). สถิติเพื่อการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์ จำกัด.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2555). สำนักบริการวิชาการ. กรุงเทพฯ: ร้านพิมพ์ดี การพิมพ์.

รดาณัฐ เด่นศักดิ์ตระกูล. (2553). ความพึงพอใจของลูกค้าด้านคุณภาพการบริการในการซ่อมบำรุง อากาศยานและชิ้นส่วนอากาศยาน ของบริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการตลาด. มหาวิทยาลัยเซนต์ จอห์น, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์การพิมพ์.

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2551). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2553). คุณภาพในงานบริการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์. (2548). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็คยูเคชั่น.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2550). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สมหมาย เปียถนอม. (2551). ความพึงพอใจของนักศึกษาในการได้รับการบริการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.

สรชัย พิศาลบุตร. (2551). การวิจัยตลาด. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

อุไรวรรณ ทองเสน่ห์ม. (2551). ความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายในการบริหารงบประมาณของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.

Applewhite, P. B. (1965). Organization Behavior Englewook Cliffs. New York. The functions of executive. Cambridge: Harvard University Press., 7.

Davis, K. N., John,. (1985). Human Behavior at Work : Organizational Behavior. New York: McGraw-Hill.

Douglas, C. M. (2007). Design and Analysis of Experiments. New York: John Willey & Sons Inc.

Etzel, M. J. (2014). Marketing. New York: McGraw-Hill/lrwin.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education: New York: McGraw-Hill Book.

Kotler, P. a. A., G,. (2010). Principles of Marketing: Pearson Education.

Locke, E. A. (1976). The Nature and Causes of Satisfaction. In Handbook of industrial and Organizational Psychology.