ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเปลี่ยนแปลงกับการเป็นองค์กร 4.0 ของกองบังคับการตำรวจจราจร Relationship between Management of Changes and Organization 4.0 of the Traffic Police Division

Main Article Content

ชลพรรฒน์ เคียนทอง Chonlaphat Kianthong
ภิรดา ชัยรัตน์ Pirada Chairatana
เกวลิน ศีลพิพัฒน์ Kevalin Silphiphat

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของกองบังคับการตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเกี่ยวกับการเป็นองค์การ 4.0 ของ กองบังคับการตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเปลี่ยนแปลงกับการเป็นองค์การ 4.0 ของกองบังคับการตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับผู้ปฏิบัติ และเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับผู้บังคับบัญชา สังกัดกองบังคับการตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 383 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน 


           ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์การ 4.0 อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าการบริหารการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับการเป็นองค์การ 4.0 ของกองบังคับการตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


           The objectives of this research were 1) to study the opinion of traffic police officers about change management of the Traffic Police Division. 2) to study the opinion of traffic police officers about the organization in 4.0 era of the Traffic Police Division and 3) to study the relationship between change management and organization in 4.0 era of the Traffic Police Division.


            The sample consisted of 363 the police officers and police officers, operation level and commanding level of Traffic Police Division. The data were collected by questionnaires. The statistical tools used were frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson Product Moment Correlation Coefficient.


             The result of this study showed that the opinions about change management were at high level and the opinions about the organization in 4.0 era were at high level. The hypotheses testing revealed that the change management related to the organization in 4.0 era of the Traffic Police Division at was statistical significance of 0.05

Article Details

How to Cite
Chonlaphat Kianthong ช. เ., Pirada Chairatana ภ. . ช., & Kevalin Silphiphat เ. . ศ. (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเปลี่ยนแปลงกับการเป็นองค์กร 4.0 ของกองบังคับการตำรวจจราจร: Relationship between Management of Changes and Organization 4.0 of the Traffic Police Division. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 17(3), 143–156. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/254369
Section
Dissertations

References

กองบังคับการตำรวจจราจร. (2564). ประวัติความเป็นมาของกองบังคับการตำรวจจราจร. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564, จาก http://www.trafficpolice.go.th/history.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2564). องค์การสมรรถนะสูงกับความรับผิดชอบต่อสังคม. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 15(2), 11-36.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2557). การบริหารทุนกลยุทธ์ของไทย. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศานศาสตร์ สถาบับัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พสุ เดชะรินทร์. (2555). การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยาเบ็น เรืองจรูญศรี. (2552). แนวคิดทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ (The ContingencyApproach). สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564, จาก https://www.kroobannok.com/blog/20420

วิเชียร คงเทพ. (2561). องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization). สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/332542?fbclid=IwAR3ahTiQcU1AhUTCJhdx68.yRhERc0fL24ql_VYRX9MQB9eXuxmF6PGaw-CE.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2559). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. สืบค้น เมื่อ 15 มิถุนายน 2564, จาก https://www.opdc.go.th/content/Nzc.

สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์ และคณะ. (2559). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของวิทยาลัยพยาบาล. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brokaw, G.S. and Mullins, J.M. (2015). In Pursuit of Higher performance-Part I In The PublicManager. The Quarterly for Practionaers, 35(4), 28-35.

De Waal, A. A. (2007). The Characteristics of High Performance Organization. Business Strategy Series.vol. 8, No. 3 pp. 179-185. Emerald Group Plublishing Limited.

Frank Buytendijk. (2015). Five Key to Building High Performance Organization, Business Performance Management Magazine, February.

Hinkle. D.E, William ,W. and Stephen G. J. (1988). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. New York : Houghton Mifflin.

Holbeche, L. (2005). The High Performance Organization : Creating Dynamic Stability andSustainable Success. Amsterdam : Elsevier.