ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครู The Effect of Learning Management Based on CIPPA Model with Graphic Organizer to Promote Analytical Thinking Ability of Teacher Students

Main Article Content

สุธาทิพย์ งามนิล Suthathip Ngamnin

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  จำนวน 29 คน ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิก จำนวน 5 แผน มีคุณภาพในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.61, S.D. = 0.08) 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.25-0.66 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.25-0.50 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระกัน และการทดสอบแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 


1.นักศึกษาครูที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ07 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.93 และมีคะแนนเฉลี่ย  หลังเรียนเท่ากับ 25.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.61 เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักศึกษาครูมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   


2.นักศึกษาครูที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 61 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               The purposes of this research were 1) to compare analytical thinking ability of teacher students before and after learning management using CIPPA model with graphic organizer and 2) to compare analytical thinking ability of teacher students after learning management using CIPPA model with graphic organizer by using 70 percentage of a full score. The samples in this research were 29 Third year undergraduate students, English Program at Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University in the second semester, Academic Year 2021 which used the Cluster random sampling technique. The research instruments consisted of 1) the 5 lesson plans of CIPPA model with graphic organizer which was at a high level (gif.latex?\bar{x}= 4.61, S.D. = 0.08) 2) analytical thinking ability test with a 4 choice option including 30 items with difficulty ranging (p) from 0.25-0.66 a discriminatory ranging (r) from 0.25-0.50 and a precision value of 0.92 The data were analyzed in terms of means, standard deviation and dependent sample t-test and one sample t-test. The result were as follows: 


1) The teacher students before learning by using CIPPA model with graphic organizer had analytical thinking ability average score of 10.07, standard deviation at 1.93 and after learning had average score of 25.66, standard deviation at 1.61. Meanwhile, the comparison of analytical thinking ability after learning by using CIPPA model with graphic organizer had average score higher than before learning statistical significance at .05 level.


2) The teacher students after learning by using CIPPA model with graphic organizer was the analytical thinking ability with average score of  25.66, standard deviation at 1.61. Which was higher than the criteria 70 percent of a full score statistical significance at .05 level.

Article Details

How to Cite
Suthathip Ngamnin ส. . ง. (2022). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปาร่วมกับผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครู: The Effect of Learning Management Based on CIPPA Model with Graphic Organizer to Promote Analytical Thinking Ability of Teacher Students. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 17(2), 137–150. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/254485
Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

จรินทร สุขขานน. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโมเดลซิปปา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์,นครสวรรค์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซต์แอนปริ้นติ้ง.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฏีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนาพร แสนสมบัติ. (2559). การสอนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 5(2).

ณัฐริกา พันทะสา. (2558). การพัฒนาคู่มือการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยและพัฒนาการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (2562). หลักสูตรครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). นครสวรรค์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.).

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2541). การปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวคิด ๕ ทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ไอเดียสแควร์.

ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2543). การคิดและการสอนคิด ในประมวลบทความนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2557). ความหมายและขอบเขตของการคิดวิเคราะห์ ในคิดวิเคราะห์: สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ความสำคัญและจำเป็นของการคิดวิเคราะห์ ในคิดวิเคราะห์: สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, และพเยาว์ ยินดีสุข. (2551). ทักษะ 5 C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไล รัตนทิพย์. (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสารและการจำแนก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปาโมเดลร่วมกับผังกราฟิก. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อมรินทร์ มาตทะวัน. (2555). การเปรียบเทียบผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนจากโปรแกรมบทเรียนแบบซิปปาโมเดลกับการเรียนแบบปกติ.การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Burgess, E. (2008). The use of Graphic Organizers in the Writing Process in 9th Grade World History Class. Master Abstracts International. 46(6): unpages; December, 2008.

Vygotsky,L.S. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. London: Harvard University Press.