ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 The Effects of Learning Management on the Concept of using Brain-Based Learning to English Listening and Speaking Ability of Prathomsuksa 5 Students

Main Article Content

จิราพรรณ บูรณพันธ์ Jirapan Buranapan
สุธาทิพย์ งามนิล Suthathip Ngamnil

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เปรียบเทียบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 4) เปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอนุบาลทัพทัน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน จำนวน 12 ชั่วโมง มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด แบบวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.67 – 1.00 ค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.34 – 0.60 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.40 – 0.76 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 และแบบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบแบบกลุ่มเดียว


           ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานมีความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานมีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานมีความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 23.03 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานมีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 34.43  สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


          The objectives of this research were to 1) compare the English listening ability of Prathomsuksa 5 students between before and after learning by using Brain-Based Learning., 2) compare the English speaking ability of Prathomsuksa 5 students between before and after learning by using Brain-Based Learning., 3)compare the English listening ability of Prathomsuksa 5 students after learning by using Brain-Based Learning with the criteria 70 percent of total score., 4)compare the English speaking ability of Prathomsuksa 5 students after learning by using Brain-Based Learning with the criteria 70 percent of total score.The sample were 30 Prathomsuksa 5 students in the first semester of the Academic Year 2021 at Anubanthapthan School, who were selected by the cluster sampling method. The research instruments were 1) 6 lesson plans of learning management with using Brain-based learning with the most appropriate, 2) the English listening ability, the IOC index between 0.67-1.0, the difficulty was between 0.34-0.60, the discrimination was between 0.40-0.76 and the reliability was 0.90  3) the English speaking ability ,the IOC index was 1 and the Rater Agreement Index (RAI) was 0.98, Data were analyzed by mean, standard deviation, dependent t-test and one-sample t-test. The research finding were as follows: 1)The Prathomsuksa 5 students who were taught through learning management by using Brain-based learning to listening ability had higher score in posttest than that in pretest  at .05 level of significance. 2) The Prathomsuksa 5 students who were taught through learning management by using Brain-based learning to speak had higher score in posttest than pretest at .05 level of significance., 3)The Prathomsuksa 5 students who were taught through learning management by using Brain-based learning to listen had score in posttest (gif.latex?\bar{X}=23.03) higher than test criterion score over 70 Percent at .05 level of significance., 4) The Prathomsuksa 5 students who were taught through learning management by using Brain-based to speak had score in posttest (gif.latex?\bar{X}=34.43) higher than test criterion score over 70 Percent at .05 level of significance.

Article Details

How to Cite
Jirapan Buranapan จ. บ., & Suthathip Ngamnil ส. . ง. . (2022). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5: The Effects of Learning Management on the Concept of using Brain-Based Learning to English Listening and Speaking Ability of Prathomsuksa 5 Students. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 17(3), 157–170. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/254553
Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ชลดา มากพานิช. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

ธีรพงษ์ แสงสิทธิ์. (2550). การเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brian base Learning) ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้ โดยเข้าใจสมอง. ชุมพร: โรงเรียนบ้านท่ามะปริง.

พรพิไล เลิศวิชา. (2558). การออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมทรง สวัสดี. (2549 ). ผลการใช้ชุดกิจกรรมทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ ที่ใช้หลักการของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ระยอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สุภาพรรณ คำไทย. (2556). การใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อุรารัตน์ สิงหเดช. (2553). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษที่ใช้หลักการของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ตามแนวคิดของ อีริค เจนเซ่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, มหาสารคาม.

Caine, R., & Caine, G. (1990). Understanding a brain base approach to learning and teaching. Education Leadership.

Cussanda, J. (2010). Why does Thailand have the lowest English standard in South East Asia? The education system is to blame. Retrieved from http://superitchy.com/.

Hoge, P. (2003). The integration of brain-based learning and literacy acquisition. New York: W.H Freeman.

National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2020). Annual Report. Bangkok: National Institute of Educational Testing Service (Public Organization).