ความต้องการจำเป็น กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ และผลการพัฒนาแบบทดสอบอิงเกณฑ์เพื่อประเมินความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 2 Needs Assessment, Learning Strategies and the Results of Development of the Criterion-Referenced Test in Assessing English Vocabulary Learning Ability of the Second-Year Naval Cadets
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 2) ศึกษาและเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน 3) สร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบอิงเกณฑ์ประเมินความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 2 ที่กำลังศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 ภาคต้น ปีการศึกษา 2564 จำนวน 89 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการจำเป็น 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับกลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ และ 3) แบบทดสอบอิงเกณฑ์ประเมินความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (m) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) การทดสอบค่า t (t-test) ค่าดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (B) ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงตรงของคะแนนจุดตัด (φvc) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (ρ)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าดัชนีลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นอันดับแรก ได้แก่ การเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท 2) คะแนนเฉลี่ยการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยใช้กลวิธีเพื่อเพิ่มพูนคำศัพท์มากที่สุด และนักเรียนกลุ่มเก่งและอ่อนมีการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษทุกด้านแตกต่างกัน 3) แบบทดสอบอิงเกณฑ์ประเมินความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .32 - .74 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .40 - .77 และคะแนนจุดตัดเท่ากับ 39 และ
4) กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยภาพรวมของนักเรียนนายเรือชั้นปีที่ 2 มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับสูงมาก
The objectives of this research were to 1) study needs assessment on English vocabulary learning ability development 2) study and compare English vocabulary learning strategies between high-ability and low-ability naval cadets 3) construct and find out the efficiency of the criterion-referenced test for English vocabulary learning ability assessment and 4) study the relationship between learning strategies and English vocabulary learning achievement. The population was 89 second-year naval cadets studying the communicative English course in the first semester of academic year 2021. The instruments were
1) a questionnaire on needs assessment 2) a questionnaire on English vocabulary learning strategies and 3) a criterion-referenced test for English vocabulary learning ability assessment. The data were analyzed by mean, S.D., t-test, PNImodified, difficulty, discrimination power, co-efficient of standard of minimally acceptable performance and Pearson’s product moment correlation coefficient.
The findings were as follows: 1) the first order of needs assessment is “guessing meaning from context” 2) the average score of using English vocabulary learning strategies was at a moderate level. When considering specifically, the strategies for enhancing was the highest. There were differences on using of vocabulary learning strategies between high-ability and low-ability naval cadets. 3) a 60-item criterion-referenced test had the discrimination power ranging from .32 - .74 and the difficulty ranging from .40 - .77. The standard of minimally acceptable performance was 39. and 4) English vocabulary learning strategies had a positive relationship at a very high level with English vocabulary learning achievement.
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2542). กระบวนการเรียนรู้และยุทธศาสตร์การเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กองทัพเรือ. (2563). นโยบายของผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ชาญณรงค์ อินทรประเสริฐ. (2547). การใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2535). เทคโนโลยีการศึกษา ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ถิรวัฒน์ ตันทนิส. (2557). กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ของนักศึกษาสหวิทยาการที่มีระดับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษทางสังคมศาสตร์สูงและต่ำ. ภาษาและภาษาศาสตร์, 33(1), 1-22.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพศาล หวังพานิช. (2526). การวัดผลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
รติ หอมลา. (2553). การส่งเสริมความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและความสามารถในการฟังของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงโดยใช้ภาพยนตร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
วันทนี แสงคล้ายเจริญ. (2557). การสร้างแบบฝึกทักษะการใช้พจนานุกรมภาษาอังกฤษ-อังกฤษ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษศิลปศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 (รายงานผลการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
เสาวนิต ร่มศรี. (2541). การสร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เมตริกซ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 . วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรชร กิจการ. (2543). การใช้ภาษาอังกฤษสับเปลี่ยนภาษาไทยและหน้าที่ครูภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
Kaufman, R. (2000). Need assessment concept and application. (3rd ed.). New York: Education Technology.
McCarthy, M.J. (1990). Vocabulary. Oxford: Oxford University Press.
Nation, L. (2003). Learning Vocabulary in Another Language. Cambridge: Cambridge University Press.
Oxford, R.L. (1990). Second Language Learning Strategies. Annual review of Linguistics, 13(2), 174-187.
Stevick, E.W. (2012). Humanism in Language Teaching. International Association TESOL, 27(2), 338-339.
Van Syoc, B. (1963). Methods of Teaching English. Bangkok: Social Sciences Association of Thailand Press.