การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ โดยใช้แหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นเป็นฐานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี The Developing of a Learning Management Model to Promote Public Relations Media Production Skills Using Local Attractions Base for Undergraduate Students

Main Article Content

ศศิพงษ์ ศรีสวัสดิ์ Sasipong Srisawat

Abstract

               การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนรู้ แบบทดสอบทักษะการใช้ภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที    ผลการวิจัย พบว่า


1. สภาพข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนมีความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ในด้านการพัฒนาขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ด้านเนื้อหา และ ด้านการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์การท่องเที่ยวในท้องถิ่น 


2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีชื่อว่า “SBAPE” Model มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและชุดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80


3. ผู้เรียนมีผลการพัฒนาทักษะการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


4. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก


               The purposes of this research were to 1) to study the basic information of learning management 2) to develop a learning model 3) to study the effect of using the learning model and 4) to study the satisfaction with the learning style The sample group consisted of 30 undergraduate students in the second semester of the academic year 2020, which were obtained by group sampling. The tools used in the research consisted of learning patterns. Public Relations Language Skills Test The satisfaction questionnaire on the learning management style The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test for one sample.   The finding were as follows: 


1. Basic information condition of learning management Teachers need to develop a learning management style. in terms of the development of learning management procedures, content and awareness raising in the conservation of local tourism.


2. The learning management model, named “SBAPE” Model, was at a high level and the learning set was 80/80 effective.


3. The learners had a statistically significantly higher result of developing public relations media production skills after studying at .05 level of statistical significance. 


4. The students were satisfied with the learning management model at a high level.

Article Details

Section
Research Articles

References

กชกร เป้าสุวรรณ และคณะ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์พิษณุโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

กฤติย อริยา , อารีรัตน์ แก้วอุไร และ เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2), 1-17.

จุติมา ศิลปภักดี และคณะ. (2560). การพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่มีผลต่อความสามารถในการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 10(2), 2583-2610.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรภัทร์ สุขสบาย. (2561). การพัฒนาชุดการสอน รายวิชาการสอนการเขียนภาษาไทย สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 13(2), 115-125.

ธีร์วรา ขะบูรณ์. (2557). วิเคราะห์การใช้ภาษาพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

บุบผาเมฆ ศรีทองคำ. (2556). การสื่อข่าวและการเขียนข่าว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภาคภูมิ หรรนภา. (2561). ความเข้าใจภาษาข่าวการจำเนื้อหาในข่าวอาชญากรรมและข่าวการศึกษาของผู้รับสาร.วารสารภาษาศาสนาและวัฒนธรรม, 7 (1), 86-102.

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2562). รายงานการประชุมสะท้อนผลการเรียนรู้ประจำปีการศึกษา 2561, 3 มีนาคม พ.ศ.2562 ณ ห้องประชุมสำนักวิชาศึกษาทั่วไป. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2557). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

วารีรัตน์ แก้วอุไร และคณะ. (2563). แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 15(2), 43-58.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด.

ศศิธร อินตุ่น. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องการใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์ เนลล์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(1), 108-120.

ศุภักษร ฟองจางวาง. (2559). การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ การเรียนรู้แบบร่วมมือเรื่องการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานด้วยภาษาจาวาสคริปต์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 9(3), 937-953.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร).กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุวัทนา สงวนรัตน์. (2563). ผลการใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์เนลล์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียน รายวิชาวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 16(1), 31-42.

อารีย์ ปรีดีกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการสอนน้อยเรียนมาก TLLM เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในประชาคม ASEAN สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10(พิเศษ), 1-18.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2011). Models of teaching. 9th ed. Boston: Pearson Education.

Scriven, M. (2000). The Methodology of Evaluation. In curriculum evaluation. Chicago: American Educational Research Association, 60-75.