ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดี ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบร้า วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 The Effects of Cooperative Learning by STAD Technique with Geogebra Mathematics on Conic Section of Matthayomsuksa 4 Students

Main Article Content

ฐิติกานต์ เรไร Thitikan Rerai
นิเวศน์ คำรัตน์ Nives Kamrat

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเอสทีเอดี ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบร้า 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเอสทีเอดี ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบร้ากับเกณฑ์
ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม  3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเอสทีเอดี ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบร้า ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน
6 แผน มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยาก (P)  อยู่ระหว่าง 0.37 – 0.77 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.27 - 0.67 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.73 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 2.05 – 4.65 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มไม่เป็นอิสระ และการทดสอบทีกรณีกลุ่มเดียว 


        ผลการวิจัยพบว่า  1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเอสทีเอดี ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบร้า มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเอสทีเอดี ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบร้า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดีร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบร้า มีเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก


         The purpose of this research were 1) to compare math scores on conic section of Matthayomsuksa 4 students before and after learning by cooperative learning by STAD technique using Geogebra Program in mathematics subject, 2) to compare the learning achievement on conic section of Matthayomsuksa 4 students after learning by cooperative learning by STAD technique using Geogebra Program and the criteria at 70% and 3) to study Matthayomsuksa 4 students’ attitude towards the cooperative learning by STAD technique using Geogebra Program. The sample consisted of 30 Matthayomsuksa 4/1 students of Satrinakhonsawan School. They obtained by using Cluster Random Sampling. Research instruments included 1) the 6 lesson plans with a very appropriate quality  2) achievement test, with degree of difficulty between 0.37 – 0.77, the discrimination power from 0.27 – 0.67, and a reliability coefficient of 0.79 3) attitude questionnaire with a reliability coefficient of 0.73. The discrimination was between 2.05 – 4.65. The statistics used in the data analysis were mean, standard deviation, dependent samples t-test and one sample t-test.


          The research findings were as follows:  1.The Matthayomsuksa 4 students’s had higher math scores after by STAD technique using Geogebra Program at the .05 level of significance.  2. The Matthayomsuksa 4 students’s had Mathematics learning achievement on conic section after by STAD technique using Geogebra Program higher than 70% at the .05 level of significance.  3. The Matthayomsuksa 4 students’s attitude towards the cooperative learning by STAD technique using Geogebra Program in mathematics subject was at the good level.


 

Article Details

How to Cite
Thitikan Rerai ฐ. เ., & Nives Kamrat น. . ค. (2022). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเอสทีเอดี ร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบร้า วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4: The Effects of Cooperative Learning by STAD Technique with Geogebra Mathematics on Conic Section of Matthayomsuksa 4 Students . SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 17(3), 171–184. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/254737
Section
Dissertations

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะวุฒิ ศรีชนะ. (2556). การพัฒนาชุดการเรียนการสอน เรื่อง กำหนดการเชิงเส้นโดยใช้โปรแกรมจีโอจีบร้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

พงศักดิ์ วุฒิสันต์. (2556,). GeoGebra อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจของครูคณิตศาสตร์. นิตยสาร สสวท, 41(181), 13 – 16.

พรพรรณ เสาร์คำเมืองดี. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2553, 2 มีนาคม). กลไกขับเคลื่อนการศึกษาก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. เดลินิวส์. น. 15.

วราภา วงษานนท์. (2557). การใช้โปรแกรมจีโอจีบร้าประกอบการเรียนรู้ในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามกระบวนการแก้ปัญหาของ Polya โรงเรียนบ้านหนองหัวแรดอำเภอหนองบุญมาก สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2559). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) รายวิชาคณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/School/ ReportSchoolBySchool.aspx?mi=2

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) รายวิชาคณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/School/ReportSchoolBySchool.aspx?mi=2

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) รายวิชาคณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/MainSch/MainSch.aspx.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์.

สมบูรย์ สุริยวงศ์. (2555). วิจัยและสถิติทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยี โรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning: Theory, research and practices. (2nd ed.). Boston: Ally and Bacon.

Theodosia Prodromou. (2014). GeoGebra in Teaching and Learning Introductory Statistics. The Electronic Journal of Mathematics and Technology, 8(5), 363 – 376.