ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีมแข่งขันร่วมกับผังมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 The Effects of Cooperative Learning by TGT Technique with Concept Mapping Approach on Learning Achievement and Attitude toward Mathematics of Mathayomsuksa 4 Students

Main Article Content

มนธิรา นรินทร์รัมย์ Monthira Narinram
นิเวศน์ คำรัตน์ Nives Kamrat

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีมแข่งขันร่วมกับผังมโนทัศน์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีมแข่งขัน ร่วมกับผังมโนทัศน์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีมแข่งขันร่วมกับผังมโนทัศน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนอุดมธัญญาประชานุเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ จำนวน 28 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 00.22-0.66 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.25-0.56 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90    


         ผลการวิจัยพบว่า  1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีมแข่งขันร่วมกับผังมโนทัศน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีมแข่งขันร่วมกับผังมโนทัศน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีมแข่งขันร่วมกับผังมโนทัศน์ มีเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก


          The purpose of this research were 1) to compare the learning achievement of Matthayomsuksa 4 students before and after learning of cooperative learning by TGT technique with concept mapping approach in mathematics subject, 2) to compare the learning achievement of Matthayomsuksa 4 students after learning of cooperative learning by TGT technique with concept mapping approach and the criteria at 70% and 3) to study Matthayomsuksa 4 students’ attitude towards the cooperative learning  by TGT technique with concept mapping approach. The sample consisted of 28 Matthayomsuksa 4/1 students of Udomthanyapranukroh School. They obtained by using Multi-Stage Random Sampling. Research instruments included 1) the 6 lesson plans with a very appropriate quality 2) achievement test, with degree of difficulty between 0.22-0.66, the discrimination power from 0.25–0.56, and a reliability coefficient of 0.86 and 3) attitude questionnaire related to cooperative learning by TGT technique with concept mapping approach with a reliability coefficient of 0.90.  


         The research findings were as follows: 1) The Matthayomsuksa 4 students had Mathematics learning achievement after by TGT technique with concept mapping the post-test was higher than pre-test at the .05 level of significance. 2) The Matthayomsuksa 4 students had Mathematics learning achievement after by TGT technique with concept mapping higher than 70% at the .05 level of significance.  3) The Matthayomsuksa 4 students’s attitude towards the cooperative learning by TGT technique with concept mapping mathematics subject was at the good level.

Article Details

Section
Dissertations

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซน์แอนด์ปริ้นติ้ง.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซน์แอนด์ปริ้นติ้ง.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. พเยาว์ ยินดีสุข, วิภา เกียรติธนะบำรุง, สุรสิงห์ นิรชร, ธาริณี วิทยาอนิวรรตน์ (2550). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแนวคิดวิธีและเทคนิคการสอน 2. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊บแมเนจเม้นท์.

วนินทร สุภาพ. (2561). ผังมโนทัศน์: เครื่องมือสำคัญสำหรับการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. บทความวิชาการ, สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด Thinking skills instructional models and strategies. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือวัดประเมินผลคณิตศาสตร์. กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). คู่มือครูสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) รายวิชาคณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562, จาก

http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/MainSch/MainSch.aspx.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร ม้าคนอง. (2546). คณิตศาสตร์:การสอนและการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Slavin, R.E. (1990). Cooperative Learning. Massachusetts: A division of Simon and Schuster.