การพัฒนาชุดฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวที่เหมาะสม ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 The Development of Teachers’ Training Package to Develop a Local Earthquake Disaster Curriculum with Appropriation to the Pandemic of COVID-19

Main Article Content

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ Jakkrit Jantakoon
สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต Suphornthip Thanaphatchottiwat
วารีรัตน์ แก้วอุไร Wareerat Kaewurai
อมรรัตน์ วัฒนาธร Amormrat Wattanatorn
กัญญาภัค พุ่มแย้ม Kanyaphak Phumyaem

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการฝึกอบรมครูทั้งโรงเรียนเพื่อพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวในระหว่างเผชิญการแพร่ระบาดของโควิด-19  2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพชุดฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหว และ 3) ศึกษาประสิทธิผลการฝึกอบรมครู กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 38 คน ดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ชุดฝึกอบรมครูพัฒนาหลักสูตร และแบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสร้างข้อสรุปอุปนัย


                   ผลการวิจัยพบว่า  1) กระบวนการฝึกอบรมครูทั้งโรงเรียนเพื่อพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวเมื่อเผชิญการแพร่ระบาดจากของโควิด-19 ที่เหมาะสมกับการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสานระหว่างแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Microsoft Teams และรูปแบบปกติที่ใช้เครือข่ายครูในพื้นที่ร่วมพัฒนา 2) ชุดฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวมีจำนวน 5 หน่วย คือ    1) การสร้างแรงบันดาลใจพัฒนาหลักสูตร 2) การบูรณาการภัยพิบัติสู่ชั้นเรียน 3) การพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหว 4) การนำหลักสูตภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวไปใช้ และ 5) การประเมินผลหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหว มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) หลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวที่ครูพัฒนาขึ้นมีจุดเด่นแตกต่างกันตามบริบทโรงเรียน การฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรแบบผสมผสานสามารถใช้แก้ปัญหาการพัฒนาครูเมื่อเผชิญภาวะวิกฤติจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ครูเกิดการเรียนรู้ และมีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรเทียบเท่ากับรูปแบบปกติ มีข้อดีคือ ประเด็นเรื่องเวลา ค่าใช้จ่าย และความสะดวกสบาย รวมถึงครูรู้สึกมีเพื่อนร่วมทาง เกิดการประสานพลังกันในการพัฒนาหลักสูตร ทำให้ได้หลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบท และนำไปใช้ได้จริง


               The purposes of this research were: 1) to study the whole teacher training process to develop a local earthquake disaster curriculum with appropriation to the pandemic of COVID-19, 2) to construct and verify teacher training package to develop a local earthquake disaster curriculum, and 3) to study the effectiveness of teacher training process. The target group consisted of 45 teachers from 3 schools in the earthquake risk zone of Chiang Rai province. This research was conducted with Three steps of research and development methodology. The research instruments included semi-structured interview, a teacher training package, and field notes. Data were analyzed by mean, standard deviation, and analytic induction.


                Research findings revealed as follows: 1) The process of whole training teachers to develop a curriculum for local earthquake disaster curriculum in the pandemic of COVID-19 that suite for this research was a blended method is an integration of online with Microsoft Teams and onsite using a network of local teachers in co-development. 2) the teacher training package complied of 5 units, that were: 1) inspiring for curriculum development, 2) integrating disaster to the classroom, 3) developing a local earthquake disaster curriculum, 4) implementing a local earthquake disaster curriculum, and 5) evaluating of a local earthquake disaster curriculum. The curriculum revealed an appropriateness at the highest level. 3) The local earthquake disaster curriculums that teachers developed have different strengths depending on the school context. The blended method of teacher training can be used to solve the problem of professional development in the pandemic of COVID-19, it also stimulated teachers to learn more and finally develop a curriculum like deliverer
a training by face-to-face method. Furthermore, using online platform gave an advantage on saving both time and cost, convenience, and teachers feel like having companions. There was a synergy in curriculum development. resulting in
a curriculum that is consistent with the context and can be used in practice.

Article Details

Section
Research Articles

References

คุณาพร วรรณศิลป์ สมปอง ศรีกัลยา และภูษิต บุญทองเถิง. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูด้วยรูปแบบผสมผสาน เรื่อง การทำวิจัยในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(3), 25-40.

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2558). ภัยพิบัติศึกษา: แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ (ตอนที่ 1). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(4), 188-201.

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหว สำหรับโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ด้วยการจัดการความรู้. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และมหาวิทยาลัยพะเยา.

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ และอรุณศรี จิตต์แจ้ง. (2556). พลังเครือข่ายในพื้นที่. กรุงเทพ ฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นันทิยา หุตานุวัฒน์ และณรงค์ หุตานุวัฒน์. (2546). การพัฒนาองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

พัชนี กุลฑานันท์. (2554). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูด้วยรูปแบบแบบผสมผสานในการทําวิจัยในชั้นเรียน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 97-115.

ณัฐหทัย สร้างสุข. (2559). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดโซสิโอคอนสตรัคติวิสต์เพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะการพัฒนาตนเองของครู. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563, จาก http://www.thai-explore.net/search_detail/result/5215

วรกิต วัดเข้าหลาม และไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2555). การพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ ระหว่างประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงโดยใช้การประชุมผ่านเครือข่าย. สนับสนุนทุนวิจัยประเภทอุดหนุนทั่วไป, ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วารีรัตน์ แก้วอุไร, จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม และประทีป คงเจริญ. (2562). การพัฒนาเครือข่ายครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนด้านทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 9(2), 77-92.

สุพร รัตนนาคินทร์. (2550). รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการในโครงการความร่วมมือทางวิชาการจาก JICA. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2554, จาก http://www.disaster.go.th/dpm/index.php?option=com.

Billings, D. & Kowaiski, K. (2006). Preparing for natural and man-made disasters. The Journal of Continuing Education in Nursing, 37(2), 56-57, DOI: 10.3928/00220124-20060201-03

Consortium for Disaster Education Indonesia. (2011. A Framework of School-Based Disaster Preparedness. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2557, จาก http://www.preventionweb.net/.../26013_26008aframeworkofschool.

Dufty, N. (2018). A new approach to disaster education. Retrieved March 4, 2019, from https://www.researchgate.net/publication/329105392_A_new_approach_to_disaster_education

Eshtehardi, R. (2014). Pro-ELT; A Teacher Training Blended Approach. Advances in Language and Literary Studies, 5(5), 106-110.

Fielding, M. et al. (2005). Factors influencing the transfer of good practice. Research report. Retrieved May 5, 2020, from https://www.dera.ioe.ac.uk/21001/1/RR615.pdf.

Katz, S., Earl, L., Ben, J. S., Elgie, S., Foster, L., Halbert, J., & Kaser, L. (2008). Learning networks of schools: The key enablers of successful knowledge communities. McGill Journal of Education, 43(2), 111. DOI:10.7202/019578ar

Lyst, C. (2020). Coronavirus: What is a blended model of learning. Retrieved May 22, 2020, from https://www.bbc.com/news/uk-scotland-524171.

Preston, J. (2012). Disaster Education ‘Race’, Equity and Pedagogy. Retrieved January 14, 2015, from https://www.sensepublishers.com.

Shahadi, N. & Maru, S. (2005). Life has change teachers’ guide. Retrieved May 24, 2011, from

http://www.unicef.org/.../Life_has_changed_Teachers_guide.

Thijs, A., & Van den Akker, J. (2009). Curriculum in development. Enschede, The Netherlands: SLO.

Thom, K. (2003). Blended learning: How to integrate online and traditional learning. London: Kogan.

Yustina, Syafii & Vebrianto. (2020). The effects of blended learning and project-based-learning on pre- service biology teachers’ creative thinking through online learning in the covid-19 pandemic. Journal Pendidikan IPA Indonesia. Retrieved May 10, 2020, from http://www.journal.unnes.ac.id/index.php/jpii DOI: 10.15294/jpii.v9i3.24706

Zubenko, W.N. & Capozzoli,J. A. (Eds.). (2002). Children and disaster and disasters: A practical guide to healing and recovery. New York: University Press.