การศึกษากรอบความคิดและแนวทางการปรับกรอบความคิดของครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา The Study of the English Teachers’ Mindset and the Approach for Changing Mindset in English for Communicative Teaching of the Elementary Teachers

Main Article Content

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ Chaiwat Sutthirat
นราภรณ์ สโรดม Naraporn Sarodom
วศินี รุ่งเรือง Wasinee Rungruang
ภัทรพร สุทธิรัตน์ Pattaraporn Sutthirat

Abstract

              งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบความคิดของครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 2) ศึกษาแนวทางการปรับกรอบความคิดในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษากรอบความคิดของครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา จำนวน 320 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากโรงเรียนในเขตตรวจราชการ 17 (ภาคเหนือตอนล่าง) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดกรอบความคิดในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครู แบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 24 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการปรับกรอบความคิดในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร แหล่งข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แนวทางการปรับกรอบความคิดในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูประถมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า   1. ครูมีกรอบความคิดในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยรวมทั้ง 2 ด้าน อยู่ในระดับกรอบความคิดแบบเติบโตและมีกรอบความคิดแบบยึดติดบางส่วน (gif.latex?\bar{x}= 3.05) เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่ากรอบความคิดเกี่ยวกับความสามารถของตัวเองในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอยู่ในระดับกรอบความคิดแบบเติบโตและมีกรอบความคิดแบบยึดติดบางส่วน (gif.latex?\bar{x}= 2.98) และกรอบความคิดเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียนในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอยู่ในระดับกรอบความคิดแบบเติบโตและมีกรอบความคิดแบบยึดติดบางส่วน (gif.latex?\bar{x}= 3.06)  2. แนวทางการปรับกรอบความคิด ควรนำเทคนิค หลักการ ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องมาใช้ร่วมกับกระบวนการปรับกรอบความคิดของครูให้เชื่อว่าการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเป็นสิ่งที่ไม่ยาก และผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ตามหลักการปรับกรอบความคิดตามทฤษฎีแห่งตนของ Carol S. Dweck ให้ครอบคลุมทั้ง 6 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) ความเชื่อว่าสติปัญญาความสามารถพัฒนาได้ 2) การเผชิญต่ออุปสรรค 3) การเรียนรู้จากความพยายาม 4) การเผชิญความท้าทาย 5) การเรียนรู้จากคำวิจารณ์ และ 6) การสร้างแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น และวัดกรอบความคิดได้ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น 1) วิธีการสอบถาม 2) วิธีการสัมภาษณ์ 3) วิธีการสอบถามร่วมกับวิธีการสัมภาษณ์เพิ่มเติม 4) ประเมินพฤติกรรมจากสถานการณ์ที่กำหนด และ5) ประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน


        This study is a survey research. The purposes of this study were: 1) to study the  mindset in English for communicative instruction of the elementary school English teachers, and 2) to study the way to change  the English teachers’ mindset in English for communicative instruction. The samples were 320 elementary school English teachers from schools in the Government Inspectorate 17 through a multi-stage sampling technique (lower northern region) and 5 experts to provide suggestions on ways to change the English teachers’ mindset in English for communicative instruction. The research instruments were the mindset measurement form for the English teacher with ratting scale 4 levels 24 questions, and Semi-structured Interview form. Data were analyzed using percentage, mean standard deviation., and content analysis 


          The results of this study found that;  1. The English teachers’ mindset in English communicative teaching overall with an average score of 3.05, which means a growth mindset and a fixed mindset level. When separated into two parts: 1.1) The English teachers’ mindset for teachers' ability to instruct in English for communication had an average score of 2.98. That means a growth mindset and a fixed mindset level. 1.2) The English teachers’ mindset for students' ability to learn English for communication had an average score of 3.06. That means a growth mindset and a fixed mindset level.  2. Suggestions on the approach to change a fixed mindset to be a growth mindset should apply techniques, concepts, principles, and theories to be used in the process of change the teachers’ mindset of the believe that teaching English for communication is not difficult. And all learners can learn and communicate in English, according to their theory (Self-Theory) of Carol S. Dweck. The process of changing should be adjusted to cover all six characteristics: 1) Belief that intelligence can be developed 2) Facing obstacles 3) Facing challenges 4) Learning from criticism and 6) Inspiration. from the success of others. The mindset measurement using a variety of methods and tools, such as 1) questioning methods; using a questionnaire 2) interview method; using a interview form 3) The questionnaire method was used with the interview method, 4) Evaluate behavior in a specific situation. 5) Evaluating teaching ability by assessing of the lesson plan design, teaching, using of teaching materials, measurement, and evaluation and measurement in the classroom.

Article Details

How to Cite
Chaiwat Sutthirat ช. ส., Naraporn Sarodom น. . ส., Wasinee Rungruang ว. . ร., & Pattaraporn Sutthirat ภ. . ส. (2021). การศึกษากรอบความคิดและแนวทางการปรับกรอบความคิดของครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา: The Study of the English Teachers’ Mindset and the Approach for Changing Mindset in English for Communicative Teaching of the Elementary Teachers . SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 16(3), 41–54. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/255153
Section
Research Articles

References

จาตุรนต์ ฉายแสง. (2557). รายงานการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ. กระทรวงศึกษาธิการ.

ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2558). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิตการใช้และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มิลินทรา กวินกมลโรจน์. (2557). การวิจัยและพัฒนากระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับกรอบความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา. คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บังอร เสรีรัตน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมกรอบความคิดเกี่ยวกับการสอนของครูประถมศึกษา. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. เข้าถึงได้จาก http//www.niets.or.th.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. เข้าถึงได้จาก http//www.niets.or.th.

Blackwell, L. A., Trzesniewski, K, H, & Dweck, C. S. (2007). Theories of intelligence and achievement across the junior high school transition: A longitudinal study and an intervention. Child Development, 78(1), 246-263.

Brown, S., & Gillis, M. (1999). Using reflection thinking to develop personal philosophies. Journal of Nursing Education, 38(4), 171-175.

Dweck, C. S. (2015). Carol Dweck Revisits the “Growth Mindset”. Education week, 35(5), 20-24.

Dweck, C. S. (2015). Teachers’ Mindset: Every Student has Something to Teach Me. Educational Herizons, 93(2), 10-14.

Dweck, C. S., & Elliot, E. (1983). Achievement Motivation. In E. Heartherington (Ed.), Handbook of Child Psychology (Vol. 4, pp. 543-691). New York, NY: Wiley.

Dweck, C. S., & Leggert, E. L. (1988). A Social Cognitive Approach to Motivation and Personality. Psychological Review.

Carol S. Dweck. Ph.D., (2016). Mindset The New Psychology of Success. Ballantine Books Trade Paperback Edition.

Goalstein, S., & Brooks, R. (2007). Understanding and Managing Children’s Classroom Behavior: Creating Sustainable, Resilient Schools. USA: John Wiley & Sons.

Gutshall, C. A. (2013). Teachers’ mindset for student with and without disabilities. Psychology in the schools, 50(10), 1073-1083.