การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการร้านค้าชุมชนเพื่อยกระดับให้เป็นร้านค้าชุมชนต้นแบบ ในตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย The Development of Community Shop Management Potential as Prototype Shop of Sanmaked Sub-district, Phan District, Chiang Rai Province

Main Article Content

ชุติมา ปัญญาหลง Chutima Panyalong

Abstract

              บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท การบริหารจัดการร้านค้าชุมชนในตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และประเด็นท้าทายการบริหารจัดการร้านค้าชุมชนในตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และ 3) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการร้านค้าชุมชนเพื่อยกระดับให้เป็นร้านค้าชุมชนต้นแบบในตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายประกอบไปด้วย สมาชิกร้านค้าชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้าชุมชน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการร้านค้าชุมชน ตัวแทนภาคภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิการบริหารจัดการ จำนวน 52 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และแบบสโนว์บอลล์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสังเกต และ 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า 1) ร้านค้าชุมชนขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ร้านค้าชุมชนมีการบริหารจัดการตามขั้นพื้นฐานของการจัดสรรผลประโยชน์เท่านั้น ไม่มีการตั้งกฎเกณฑ์หรือมีข้อบังคับที่ชัดเจน ขาดการตรวจสอบการดำเนินงาน 2) ศักยภาพของร้านค้าชุมชนมีจุดแข็งคือ สมาชิกในกลุ่มมีความเข้มแข็ง จุดอ่อนคือ ผู้ประกอบการ สมาชิกร้านค้าชุมชน คณะกรรมการ ขาดความรู้เรื่องการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการให้บริการลูกค้า ทักษะการทำบัญชี ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี เป็นต้น 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการร้านค้าชุมชนเพื่อยกระดับให้เป็นร้านค้าชุมชนต้นแบบในตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงรายนั้นประกอบด้วย 4 แนวทาง ดังนี้ 1) การพัฒนาเชิงรุก ดำเนินการโดยการจัดทำแผนพัฒนาร้านค้าชุมชน วางแผนกลยุทธ์ ในการบริหารร้านค้าชุมชน 2) การพัฒนาเชิงป้องกัน ดำเนินการโดยพัฒนาศักยภาพด้านกระบวนการ และการบริหารองค์กร 3) การพัฒนาเชิงแก้ไขดำเนินการโดยสร้างออกแบบนวัตกรรมด้านสินค้าและการบริการ 4) การพัฒนาเชิงตั้งรับ ดำเนินการโดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


             The purposes of research were 1) This study to perform Community Shop Management of Sanmaked Sub-district, Phan District, Chiang Rai Province. 2) SWOT analysis of community shop management of Sanmaked Sub-district, Phan District, Chiang Rai Province. 3) Propose the development guidelines of community shop management potential as prototype shop of Sanmaked Sub-district, Phan District, Chiang Rai Province. This qualitative study recruited community shop members, shop committees, vendors, community leaders and government organizations management experts as the sample group of 52 persons,which were obtained by Purposive Sampling, Snowball Sampling. The instruments used in the research were Indepth Interview Observation form and Focus groups discussion. The findings revealed that 1) community shops showed systematic management throughout 20 years of operation, community shops conformed to basic operation underlying profits sharing without fixed rules or regulations, and community shops lacked operation audit. 2) The community shop potentials revealed that their strengths were strong and united members while lacking group management Customer Service Skills bookkeeping skills technology knowledge, etc. was their weakness. 3) There were 4 development guidelines for community shop management potentials as prototype shop: (1) Proactive development by devising community shop development plan and management strategies (2) Preventive management by developing potentials on process and organizational management (3) Problem-solvingmanagement by designing product and service innovations (4) Passive management by developing human resources.

Article Details

How to Cite
Chutima Panyalong ช. ป. (2021). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการร้านค้าชุมชนเพื่อยกระดับให้เป็นร้านค้าชุมชนต้นแบบ ในตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย: The Development of Community Shop Management Potential as Prototype Shop of Sanmaked Sub-district, Phan District, Chiang Rai Province . SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 16(3), 55–70. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/255560
Section
Research Articles

References

โกวิทย์ กุลวิเศษ และลำปาง แม่นมาตย์. (2558 ). บทบาทร้านค้าชุมชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาตำบลหินตั้ง. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการสัมมนาระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา สถาบันราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 15 (น. 29-37). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2553). กระบวนการของการพัฒนาโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ. กรุงเทพฯ.

ปราโมทย์ ยอดแก้ว และคณะ. (2563). การพัฒนาร้านค้าชุมชนต้นแบบประชารัฐเพื่อขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริพงษ์ ลัดาวัลย์ ณ อยธุยา.(2555). แนวความคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดธนุชพริ้นติ้ง.

สุกัญญา ดวงอุปมา. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต.ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2557). หน้า 133-139. เชียงใหม่ : สมศักดิ์การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ. 20 ปี(พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2553). กระบวนการของการพัฒนาโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ. กรุงเทพฯ.

ปราโมทย์ ยอดแก้ว และคณะ. (2563). การพัฒนาร้านค้าชุมชนต้นแบบประชารัฐเพื่อขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Robert Waterman , Tom Peter and Julien Phillips. (1980). In search of Excellence. United State, Industrial management.