การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้เรื่องการกำหนดปัญหาการวิจัย สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา Development of Online Course on Research Problems based on Schema Theory for Graduate Students
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้ เรื่อง การกำหนดปัญหาการวิจัย สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการทางการเรียนของนักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์ตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนคสวรรค์ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีลักษณะเป็นแบบทดสอบแบบความเรียง (Essay Test) จำนวน 5 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.67-1.00 มีค่าความยากแบบอิงกลุ่มระหว่าง 0.45-0.68 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.35-8.45 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และ 2) แบบวัดความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 5 ด้าน รวม 18 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน
ผลการวิจัยพบว่า
- บทเรียนออนไลน์ตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้ เรื่อง การกำหนดปัญหาการวิจัย สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.50/81.47
2.นักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้ เรื่อง การกำหนดปัญหาการวิจัย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนร้อยละของพัฒนาการเท่ากับ 70.67
- นักศึกษาบัณฑิตศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์ตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้ เรื่อง การกำหนดปัญหาการวิจัย ในระดับมากที่สุด
The purposes of this research were to 1) develop online course on Research Problems based on Schema theory for graduate students and 2) study learning achievement of graduate students by using online course based on Schema theory and 3) study the students' satisfaction towards the online course based on Schema theory. The samples were 28 students who enrolled in research and development courses in the first semester for academic year 2021, Faculty of Education in Curriculum and Instruction program, Nakhon Sawan Rajabhat University. The research instruments were 1) the 5 items of Essay Test which the validity was between 0.67-1.00,
the difficulty was between 0.45-0.68, the discrimination was between 0.35-8.45, and the reliability was 0.87 and 2) the 22 items of 5 rating scale of the students’ satisfaction assessment regarding online course with the validity between 0.67-1.00, and the reliability at 0.88. The statistics used for analyzing data were mean, standard deviation and t-test dependent.
The research findings were as follows:
- The online course of Research Problems based on Schema theory for graduate students had efficiency of 82.50/81.47
- The graduate students’ learning achievements score after learning through online course of Research Problems based on Schema theory was higher than before at the 0.5 level of significance and the percentage development score was 70.67
- The graduate students’ satisfaction toward online course of Research Problems based on Schema theory was at the highest level
Article Details
References
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2552). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). E-Book หนังสือพูดได้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น: ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประมา ศาสตระรุจิ. (2553). โครงการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยสื่อสารสังคม. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(ฉบับพิเศษ 1), 116-124.
เมษา พูลสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11(33), 131-142.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2556). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา วาโยและคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CLASSICAL TEST THEORY). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดใจ ปลื้มจิตร์ และคณะ. (2557). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาการบัญชีต้นทุน เรื่องต้นทุนการผลิตสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 แผนกวิชาการบัญชี. วารสารพิฆเณศวร์สาร, 10(1), 67-79.
อาณัติ รัตนถิรกุล. (2558). สร้างระบบ e - Learning ด้วย Moodle (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Adams, M., & Bruce, B. (1982). Background knowledge and reading comprehension. In J.A. Langer & M.T. Smith-Burke (Eds.), Reader meets author: Bridging the gap. A psycholinguistic and sociolinguistic perspective. (pp. 2-25). Newark, DE. International Reading Association.
Anderson, R. C., & Pearson, P. D. (1984). A schema-theoretic view of basic processes in reading comprehension. In P. D. Pearson (Ed.), Handbook of reading research. (pp. 255-291). New York: Longman.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5thed.). New York: Harper Collins Publishers.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Rumelhart, D.E. (1980). Schemata: the building blocks of cognition. In: R.J. Spiro etal. (eds) Theoretical Issues in Reading Comprehension, Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.
Rumelhart, D.E. and A. Ortony. (1977). The Representation of Knowledge in Memory In R.C. Anderson, R.J. Spiro and W.E. Montague (Eds.), Schooling and the Acquisition of Knowledge. Hillsdale, NJ: Erlbaum.
Piaget, J. (1970). Science of Education and the psychology of the child. New York: Orion press.
Wolman, B.B. (1973). Dictionary of Behavior Science. New York: Van Norstand Reinhold Company.