การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี Development of Learning Management Model to Promote Thai for Communicative Skills by the Task-Based Learning Approach for Undergraduate Students

Main Article Content

ศศิพงษ์ ศรีสวัสดิ์ Sasipong Srisawat

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 2) พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 80/80 และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 50 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้
2) แบบทดสอบทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้  


           ผลการวิจัย พบว่า  1. แนวทางในการจัดการเรียนรู้ ควรมีการกำหนดภาระงานที่ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยภาระงานนั้นควรมีความน่าสนใจและสนุกสนานเหมาะสมกับบริบทผู้เรียน ควรมีการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการใช้ภาษาและการวัดผลและประเมินผลที่สอดคล้องกับภาระงานที่มอบหมาย   2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีชื่อว่า “ITPIPA” Model มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและแผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก


           The purposes of this research were to 1) study of learning management guidelines to promote Thai for communicative skills 2) improve the quality and efficiency of learning management model according to the 80/80 criteria and 3) study the results of using the learning management model. Sample group including 50 undergraduate students of Semester 2, Academic year 2020, Selected by cluster random sampling. The research instruments were 1) learning management model 2) Thai language for communicative using skills test and 3) the satisfaction questionnaire on the learning management model.


                The results of the research found that : 1) Guidelines for learning management There should be a set of tasks for students to practice listening, speaking, reading, and writing skills. The tasks should be interesting and fun, appropriate to the context of the learners. A learning environment that is conducive to language skills development measurement and evaluation in accordance with the task assigned.  2) learning management model, named “ITPIPA” Model, there was a high level of suitability, and the learning management plan was effective on 80/80 criteria.  3) The results of using the learning management model found that the learners had a statistically significantly higher score on the Thai for communication skills after school at the .05 level and satisfied with the learning management model at a high level.

Article Details

Section
Research Articles

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการศาสตร์พระราชากับการเรียนรู้แบบปกติเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและทักษะ การเรียนรู้เป็นทีม สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(4), 99-115.

กาญจนา ต้นโพธิ์ และ นันทพร ศรจิตติ. (2564). การพัฒนาทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 164-174.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ทัศนีย์ จันติยะ และ วิสาข์ จัติวัตร์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นภาระงานและแนวทางการเรียนรู้ภาษาเพื่อความรู้ความเข้าใจทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิชาการและกลยุทธ์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 160-173.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนดล ดำคำ และ อภิราดี จันทร์แสง. (2561). การเรียนรู้แบบกำกับตนเองด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้น ภาระงานร่วมกับเว็บเควสท์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(2), 367-384.

เธียรสิรา คงนาวัง และ ปริณ ทนันชัยบุตร. (2561). การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานปฏิบัติเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 65-72.

บุญตา ศรีวรวิบูลย์, สุรางค์ เมรานนท์, ชาตรี เกิดธรรม และอุษา คงทองมี. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(3), 58-77.

รุ่งโรจน์ แก้วอุไร. (2559). ผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตามแนว 4 C’s เพื่อพัฒนาสมรรถนะการผลิตสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ของครูคณิตศาสตร์สังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย สังคมศาสตร์, 11(31), 1-16.

วรรณี โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ.

สุวรรณี ศิริพิทักษ์ชัย. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดภาระงานเป็นฐานโดยใช้แหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 1(พิเศษ), 66-80.

สุวิทย์ มูลคำ และ สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: อีเคบุ๊คส์.

อารีย์ ปรีดีกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการสอนน้อยเรียนมาก TLLM เป็น ฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในประชาคม ASEAN สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10(พิเศษ), 1-18.

Byrne, D. (1991). Teaching Writing Skills. 5th ed. Cambridge: Cambridge University Press.

Campbell, C. (1998). Teaching Second-Language Writing: Interacting with Text. Boston: Heinle & Heinle.

Ellis, R. (2003). Task-based Language Learning and Teaching. Oxford: Oxford University Press.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2011). Models of teaching 9th ed. Boston: MA.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Willis, J. (1996). A Framework for Task-Based Learning. UK: Longman.

Zhang, X & Hung, S. (2013). A case study of exploring viability of task-based instruction on college English teaching in big-sized class. Journal of Language Teaching and Research, 4(4), 693-699.

Zuniga,E. C. (2016). Implementing task-based language teaching to integrate language skills in an EFL Program at a Colombian University. Journal of Teachers’ Professional Development, 18(2), 13-27.