การพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยแบบเชิงรุกโดยใช้วรรณคดีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Development of Active Learning Management in Teaching Thai Language Subject Using Literature Based Approach for Enhancing the 21st Century Learners Abilities for Grade 6 Students

Main Article Content

ฐิติกานต์ แก้ววิเศษ Thitikarn Kaeowiset

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยแบบเชิงรุกโดยใช้วรรณคดีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความ พึงพอใจของครูและนักเรียนต่อแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยแบบเชิงรุกโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21  ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิทยานุกูลนารี  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่  แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบประเมินความสอดคล้องแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยแบบเชิงรุก และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อคู่มือแนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเชิงรุก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความสอดคล้อง 


          ผลการวิจัยพบว่า  1. ได้พัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยแบบเชิงรุกโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ทั้งหมด  7 แนวการจัดการเรียนรู้ ซึ่งทุกแนวการจัดการเรียนรู้ ได้ผ่านการประเมินความสอดคล้องของแนวทางการจัดการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ  โดยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด  เฉลี่ย 5.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.00    2. ผลการใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้านความพึงพอใจของครูและนักเรียนพบว่า ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อคู่มือแนวทางการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจในด้านกิจกรรมการเรียนรู้ มากที่สุด รองลงมาคือด้านการนำไปใช้ ประโยชน์และด้านเนื้อหา ตามลำดับ นอกจากนี้แนวการจัดการเรียนรู้ยังช่วยส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโดยมีการพัฒนาในด้านการทำงานร่วมกัน ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ ด้านการแก้ปัญหา ตามลำดับ


           This purposes of this research were to develop the approach in teaching Thai language subject using literature-based approach and active learning for enhancing the 21st century abilities of students. And study the satisfactions and abilities of students according to the approach in teaching Thai language subject using literature-based approach and active learning for enhancing the 21st century abilities of students. The participants were Thai language teacher at the Grade 6 Students at Wittayanukulnaree School. The methodology in this research were 1) questionnaires of teachers’ opinion on active learning management in teaching Thai subject for Thai subject teachers (Index of Item – Objective Congruence or IOC)2) satisfaction questionnaires on the manual for active learning management in teaching Thai subject.


          The findings were:  1) The development of proactive thai language learning management guidelines to promote 21 1st century skills by using literature as a base for 1st graders has 7 approaches to learning management, all of which have been evaluated by experts, an average had high level of quality average (IOC) of  5.00.   2) Results of the teacher and student satisfaction management approach the overall satisfactions on the manual for active learning management in teaching Thai subject by using literature-based approach for enhancing the 21st century abilities of students was high level. The most satisfaction was the learning activities, followed by the utilization, and content, respectively. Abilities of students., which can sort by order from highest to lowest were collaborative, creative thinking, critical thinking and problem solving.

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2560). จะสอนวรรณคดีอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดมโนทัศน์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 203 –213.

คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2558). U T Q – 02111กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับผู้สอนระดับมัธยมศึกษา. สืบค้นจาก www.krukird.com/02111.pdf

ชวิน พงษ์ผจญ. (2562). การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดวรรณคดีเป็นฐาน : แนวคิด แนวปฏิบัติ และประเด็นที่ควรพิจารณา. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 26(2), 95 – 125.

ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2560). การพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 332- 346.

ชลธิชา หอมฟุ้ง และสมพร ร่วมสุข. (2559). การสอนคติชนวิทยากับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของ ผู้เรียนและการเสริมสร้างความภูมิใจในภูมิปัญญาไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 9(2), 1549-1563.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2541). สุนทรียภาพในภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศยาม.

สถาพร พฤฒิกุล. (2558). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. สืบค้นเมื่อ 31 มิถุนายน 2560, จาก http://km.buu.ac.th/article/frontend/article_detail/141.

สุนันทา อาจสัตรู สนิท สัตโยภาส และ ชาตรี มณีโกศล. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วรรณคดีกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า แบบบูรณาการตามแนวคิดวรรณคดีเป็นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(1), 43-58.

Bonwell, C.C.; Eison, J. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom ASHE-Eric Higher Education Report No1. Washington, D.C.: The George Washington University, School of Education and Human Development.

Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (1996). The Effective Secondary Education Research. Bangkok: Khurusapha Press.

Hazzan, O., Lapidot, T. and Radonis, N. (2011). Guide to Teaching Computer Science: An Activity- based Approach. New York: Springer.

McKinney, K. & Heyl, B., (Eds.). (2008). Sociology Through Active Learning. 2nd ed. Thousand Oaks, CA: SAGE/Pine Forge Press.

Panya Borisutdhi. (1999). Analysis of Thai literature by Genre. 2 nd ed. Bangkok: The Royal Institute of Thailand.