การพัฒนาเว็บฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณตามแนวคิด TPACK สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท The Development of Web Based Training for Learning Management of Computing Science Based on TPACK Concept for Teachers Under Chainat Primary Educational Service Area Office

Main Article Content

มนัสวีร์ โตกระแสร์ Manatsawee Tokrasae
ดวงใจ พุทธเษม Duangjai Puttasem
ไกรวิชญ์ ดีเอม Kraiwit Dee-aim

บทคัดย่อ

         การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเว็บฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณตามแนวคิด TPACK สำหรับครู 2) เพื่อศึกษาผลการใช้เว็บฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณตามแนวคิด TPACK สำหรับครูด้านเทคโนโลยี 3) เพื่อศึกษาผลการใช้เว็บฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณตามแนวคิด TPACK สำหรับครูด้านวิธีการสอน และ 4) เพื่อศึกษาผลการใช้เว็บฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณตามแนวคิด TPACK สำหรับครูด้านเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนมาตรฐาน ว 4.2 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ในระดับประถมศึกษา ปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาทที่รับผิดชอบสอนในรายวิชาที่ไม่ตรงตามวิชาเอกที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 45 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย การวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เลขที่ใบรับรอง HE-049-2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เว็บฝึกอบรมและแบบประเมินการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวความรู้ผนวกวิธีสอนด้วยการบูรณการเทคโนโลยี (TPACK) (Tae S. Shin et al.. 2009) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test แบบไม่อิสระต่อกัน


          ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) ผลการการพัฒนาเว็บฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณตามแนวคิด TPACK สำหรับครูอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านเวลามีความเหมาะสมดีเยี่ยม ด้านประสิทธิภาพของเนื้อหา ด้านภาพและภาษา ด้านแบบทดสอบ ด้านประสิทธิภาพของเว็บ ด้านการออกบบจอภาพของเว็บและด้านการนำเสนอมีความเหมาะสมดีมากเท่ากัน 2) ผลการประเมินความรู้ด้านเทคโนโลยีของครูพบว่า ครูได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นและเข้าใจในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี 3) ผลการประเมินความรู้ด้านวิธีการสอนของครูพบว่า ครูสามารถดัดแปลงการเรียนการสอนหรือมีวิธีการสอนที่สามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจในขณะที่นักเรียนไม่เข้าใจ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ มาผสมกันในการจัดการเรียนการสอนได้มากขึ้น 4) ผลการประเมินความรู้ด้านเนื้อหาของครูพบว่า ครูมีความรู้และเข้าใจในสาขาวิชาที่สอนและความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง มโนทัศน์ทฤษฎีและกระบวนการในวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ได้ดีมากขึ้น

Article Details

How to Cite
Manatsawee Tokrasae ม. โ., Duangjai Puttasem ด. พ., & Kraiwit Dee-aim ไ. ด. (2023). การพัฒนาเว็บฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณตามแนวคิด TPACK สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท: The Development of Web Based Training for Learning Management of Computing Science Based on TPACK Concept for Teachers Under Chainat Primary Educational Service Area Office. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 18(2), 217–232. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/261261
บท
บทความวิทยานิพนธ์

References

จันทมณี สระทองหน และ จรินทร อุ่มไกร. (2560). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบ TPACK MODEL โดยการใช้การสอนแบบเสมือนจริง. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ณัฐกานต์ เทพบำรุง และ จรินทร อุ่มไกร. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบ TPACK MODEL ด้วยเทคนิคความเป็นจริงเสริมสามมิติ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านตรอกสะเดา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

พนารี สายพัฒนะ. (2551). การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Training : WBT). สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2564. จาก http://social.chan.rmutto.ac.th/edtechpark/RidArealpanaree.doc.

ลิลลา อดุลยศาสน์. (2561). ผลของการพัฒนาความรู้ในการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิธีสอนและเนื้อหาที่สอน (TPACK) ของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ของนักเรียน. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ สกสค.

สมใจ สืบเสาะและพัลภ พิริยะสุรวงศ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิทยบริการ, สำนักวิทยบริการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการนิเทศเต็มพิกัด. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. (2564). ทะเบียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564. ชัยนาท.

Denise A. Schmidt, Evrim Baran, Ann D. Thompson, Punya Mishra, Matthew J. Koehler & Tae S. Shin. (2009). Technological pedagogical content knowledge (Track): The development and validation of an assessment instrument for preservice teachers. Journal of Research on Technology in Education.

Driscoll M. (2002). Web-BASED TRAINING. San Francisco: Jossey–Bass/Pfeiffer.

Kay, K. & Greenhill, V. (2011). Twenty-first century students need 21st century skills. In Wan, G (Ed), Binging schools into the 21st century (pp. 41-66). New York: Springer Dordrecht Heidelberg.

Koehler, M. J. (2016). Technological Pedagogical Content Knowledge (TPACK). Retrieved December 28, 2020, from: http://www.tpack.org/.

Koehler, M. J. & Mishra, P. (2009). What is technological pedagogical content knowledge (TPACK). Contemporary Issues in Technology and Teacher Education (CITE Journal).

Mishra, P. & Koehler, M. J. (2006). Technological pedagogical content knowledge: A framework for teacher Knowledge. The Teachers College Record, 108(6), 1017-1054.

Mishra, P. & Koehler, M. J. (2008). Introducing technological pedagogical content knowledge. Paper presented at the In Annual Meeting of the American Educational research Association, New York.

Mishra, P. & Koehler, M. J. (2009). Too Cool for School No Way! Using the TPACK Framework: You Can Have Your Hot Tools and Teach with Them, Too. Learning & Leading with Technology, 36(7), 14-18.

Partnership for 21st Century Skills. (2007). FRAMEWORK FOR 21ST CENTURY LEARNING. Retrieved July, 24, 2021, from: http://www.p21.org/storage/documents/1.__ p21_ framework_2-pager.pdf.

Shulman, L, S. (1986). Those who understand: knowledge growth in Teaching. Educational researcher, 4-14.