การประเมินโครงการพัฒนาครูคุณภาพโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง ของคณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 และเขต 39 ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ; Evaluation of the Project on the Development o

Main Article Content

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย Teamjan Parnichprarinchai
วารีรัตน์ แก้วอุไร Wareerat Kaewurai
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ Chaiwat Suttirat
ฉลอง ชาตรูประชีวิน Chalong Chatruprachewin
อมรรัตน์ วัฒนาธร Amornrat Wattanatorn
ทิพยรัตน์ สิทธิวงศ์ Tipparat Sittiwong

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินการโครงการพัฒนาครูคุณภาพโดยใช้กระบวนการสร้าง
ระบบพี่เลี้ยง แหล่งข้อมูล ประกอบด้วย 1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แก่ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครู จำนวน 318 คน 2. ผู้ให้
การนิเทศและติดตามได้แก่ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ จำนวน 87 คนและอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์จำนวน 30 คน 3. ผู้ให้
การอบรม ประกอบด้วยอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 8 คน ดำเนินการเป็น 2 ระยะดังนี้ ระยะ
ที่ 1 การพัฒนาครูเกี่ยวกับการสร้างระบบพี่เลี้ยง การใช้กระบวนการเรียนตามบันได 5 ขั้น และการพัฒนาความสามารถ
ด้านภาษา ด้านจำนวน และด้านเหตุผล ระยะที่ 2 การพัฒนาครู ระยะเวลา 4 เดือน โดยมีการนิเทศการจัดการเรียนรู้ของ
ครู 3 ครั้ง จัดนิทรรศการการจัดการเรียนรู้ของครู การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ การทดสอบที
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
1. หลักสูตรฝึกอบรมกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง เน้นการเรียนผ่านกิจกรรมการฝึกอบรมที่หลากหลาย
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เกิดการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ จากครูในสถานศึกษา
ศึกษานิเทศก์ ในเขตพื้นที่การศึกษา และอาจารย์มหาวิทยาลัย การจัดการความรู้และการบูรณาการองค์ความรู้ในการ
อบรมกับประสบการณ์ปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา
2. ผู้เข้ารับการพัฒนาครูคุณภาพโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง มีความคิดเห็นต่อการดำเนินการ
โครงการพัฒนาครูคุณภาพโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยงอยู่ในระดับมาก
3. ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยงหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนการอบรมมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับน้อย และหลังการอบรมอยู่ในระดับ
มาก ครูมีความสามารถในการเป็นพี่เลี้ยงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก
4. ความสามารถในการใช้กระบวนการเรียนรู้ตามบันได 5 ขั้นของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
5. ผลการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบว่า จุดเด่นของโครงการเกิดความร่วมมือและความประทับใจในการ
ทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย ศึกษานิเทศก์และโรงเรียนในลักษณะสามประสาน มีกระบวนเรียนรู้ที่มีเป้าหมาย
ชัดเจนในการพัฒนา

Abstract
The purpose of this study is to evaluate the conduct of professional qualified teacher project by using coaching and
mentoring. Research resources are as follows: 1) Trainees: school administrators, superintendents and teachers at the total of 318.
2) The follow-up supervisors: 87 school administrators and superintendents and 30 faculty - staff from Faculty of Education,
Naresuan University 3) The trainers: 8 faculty-staff from Faculty of Education, Naresuan University. The operating duration
composes of two phases: Phase 1 Training: 2-day units of 1) coaching and mentoring processes, 2) 5-step ladder’ learning process
and 3) development on the abilities of language skills, numbering and reasoning. Phase 2 4-month of teacher development: 3 times
of supervisions on teacher’s learning managements, exhibition on teacher’s learning management using coaching and mentoring.
Instruments used for data collection: 1) Tools for teacher evaluation: 1.1 an evaluation form on knowledge and understanding
coaching and mentoring process, 1.2 a test on knowledge and understanding coaching and mentoring process, 1.3 an evaluation
form on the ability of being a mentor teacher. 2) Tools for student evaluation: 2.1 an evaluation form on ‘5-step ladder’ learning
process, 2.2 evaluation forms on the abilities on language skills, numbering and reasoning, 2.3 an opinion evaluation form on
coaching and mentoring. The results are as follows:
1. The training curriculum emphasizes on learning through a wide range of training activities thatiet the trainees
construct their own bodies of knowledge and provide collaborative learning among school teachers, superintendents and university
educators. The focuses are on the knowledge management and also the integration of knowledge derived from the training and
experiences from real life practices in schools.
2. The opinions of the trainees on the project are at a high level.
3. The level of teachers’ knowledge and understanding on coaching and mentoring after the training is significantly
higher than the before; the before is at a low level and the after is at a high level. As a whole, teachers possess the abilities of
coaching and mentoring at moderate to high levels. Teachers’ techniques and learning management are found different.
4. Students’ ability on ‘5-step ladder’ learning process is at a moderate level.
5. As a whole, the exchange discussions found that 1) the dominant point of the project is the collaboration and
impression on working together among university educators, superintendents and school teachers. By means of ‘the three
partners’, the working goal is clear cut on the process of development, and the project should be followed up continuously.

Article Details

Section
Research Articles