ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเลย ; Political Participation Opinions of People in Loei Province

Main Article Content

กัลยา ยศคำลือ Kalaya Yotcamlue

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเลย
2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเลย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษา
แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเลยและ 4) ศึกษากระบวนการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง
จำนวน 400 คน ได้แก่ ประชาชน เยาวชนและคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดเลย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ
ยามาเน่ (Yamane) และการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามมาตรา
ส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติเอฟ (F-test) ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe)
วิธีการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คือ การสนทนา (Focus Group discussion) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-
Depth interview) ใช้การพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเลย ภาพรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง คือ ด้านการตัดสินใจทางการเมือง ด้านการประเมินผลทางการเมือง ด้านการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
และด้านข้อมูลข่าวสารทางการเมือง ตามลำดับ 2) ประชาชนในจังหวัดเลยที่มีเพศ ระดับการศึกษา อายุและอาชีพต่างกันมี
ส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองคือ จัดทำสิ่งพิมพ์ข้อมูล เพิ่มหอ
กระจายข่าว มีงบประมาณรณรงค์ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง จัดทำเว็บไซต์ช่องทางสื่อสารและจัดตั้งศูนย์รับข้อมูลทางการเมือง
หน่วยงานภาครัฐควรให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการวางแผนจัดกิจกรรมการเมืองในระดับจังหวัด
4) กระบวนการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน ประกอบด้วย กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองทำให้เยาวชนได้เรียนรู้
วิถีทางการเมือง ใช้การจัดการความรู้ (Knowledge Management) และเตรียมความพร้อมให้เยาวชนสามารถพัฒนาสู่การเป็น
พลเมืองที่มีประสิทธิภาพข้อเสนอแนะ คือ ควรให้ประชาชนได้ดำเนินการอย่างอิสระและภาครัฐสนับสนุนงบประมาณ
ในจัดทำข้อมูลข่าวสารกิจกรรมในชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเพิ่มพื้นที่ติดตั้งหอกระจายข่าวสาร ติดป้ายประกาศ
ข้อมูลการเมืองให้เป็นปัจจุบัน ควรให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการวางแผนจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณ
ของกิจกรรมด้านการเมือง หน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดควรให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและวางแผน
จัดกิจกรรมการเมืองเพิ่มขึ้น รัฐควรจัดสรรงบประมาณในกิจกรรมรณรงค์ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ควรสร้างแรงจูงใจให้ประชาชน
ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งและจัดตั้งศูนย์รับข้อมูลทางการเมืองในชุมชน

Abstract
The purposes of the research were to 1) study political participation opinions of people in Loei Province,
2) compare political participation opinions of people in Loei Province to be sort out of sex, age, education and
occupation, 3) study of trend of promotion political participation of people in Loei Province and 4) study the election
process. This is a quantitative and qualitative research. The instruments used to collect data were questionnaires and
interviews. The technique of probability sampling, Taro Yamane and stratified random sampling was used to collect
data. A simple random Sampling was used to collect data with questionnaires for 400 people. Research quantitative
instrument was a questionnaire with reliability coefficient of .96. Collected data were analyzed and statistics used were
percentages, mean scores, standard deviations and hypothesis test by ANOVA (F-test) and Scheffe method. The
qualitative of research descriptive election process on Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550 comprised
political learning, political knowledge management, election process of people and role of election commission.
The findings: 1) The political participation opinion of people in Loei Province were moderate and ranked as
follows; political decision, political evaluation, political opinion and political information. 2) No significant difference
on sex, age, education and occupation. 3) The people have recommendation: providing and publications, setting budget
for election commission, communication charnel, information center and planning political activities. 4) The election
process comprised political learning, political knowledge management, representativeness of political outcomes and the
perceived legitimacy of governments and policies. Research suggestion were people should be independent and
government supports the budget, local government sets hotline towers, people have participation opinion in activities
planning, government will set budget to promote election, make motivation on election commission and community
political center.

Article Details

How to Cite
Kalaya Yotcamlue ก. ย. (2015). ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดเลย ; Political Participation Opinions of People in Loei Province. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 9(27), 33–48. https://doi.org/10.14456/jssra.2014.7
Section
Research Articles