รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน; The Teacher Development Model in Learning Assessment in the Basic Education School

Main Article Content

ปิยพร ชุมจันทร์ Piyaporn Chumchan

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และ 2) ทดลองและประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมิน การเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 56  คน  และครูผู้สอน จำนวน 341 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42  กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่  ผู้บริหารโรงเรียน  จำนวน 4 คน  ครูผู้สอน จำนวน 20 คน และนักเรียน จำนวน 97 คน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 การตรวจสอบรูปแบบ
ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา จำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  การสัมภาษณ์ การสังเกต และ
การสนทนากลุ่ม  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา  

                ผลการวิจัย พบว่า

                1.  องค์ประกอบของรูปแบบ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) แนวคิดพื้นฐาน 
3) จุดมุ่งหมาย 4) บทบาทผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5) กระบวนการพัฒนาครู และ 6) ปัจจัยความสำเร็จ  โดยประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ การวางแผน  การปฏิบัติ  การรวบรวมข้อมูล และ การสะท้อนผล ในการดำเนินงานทุกขั้นตอน   กระบวนการพัฒนาครู แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้  ระยะที่ 1     การเตรียมความพร้อม (Preparing phase) มี 3 กิจกรรม  ประกอบด้วย  สร้างความตระหนัก  จับคู่เพื่อนคู่คิดร่วมกันพัฒนางาน  และอบรมให้ความรู้ด้านการวัดและประเมินผล  ระยะที่ 2  การดำเนินงาน (Action phase)  มี 3 กิจกรรม ได้แก่  วางแผนบทเรียน สอนและสังเกตชั้นเรียน และสะท้อนผลการปฏิบัติงาน  ระยะที่ 3 การประเมินผล (Evaluation phase)  มี 2 กิจกรรม ประกอบด้วย  ประเมินผลการปฏิบัติงาน  และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องและน่าเชื่อถือในการนำไปปฏิบัติในระดับมากถึงมากที่สุด

                2.  ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า การดำเนินตามรูปแบบทำให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ  การประเมินการเรียนรู้  มีทักษะและความสามารถในการปฏิบัติการประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ชัดเจนขึ้น  และมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ 

 

Article Details

Section
Dissertations