การบริหารจัดการหลักสูตรในศตวรรษที่ 21: ห้องเรียนที่กว้างเท่ากับโลก; Curriculum Management in 21st century: A Classroom as Wide as the World

Main Article Content

ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์; Sasinat Sankaburanurak
อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ Atiyot Sankaburanurak

Abstract

บทคัดย่อ

        สถาบันการศึกษามีภารกิจหลักในการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ การทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาอย่างชัดเจนและถูกต้องถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ ระบบบริหารจัดการหลักสูตรที่ดีจึงต้องเป็นระบบที่มีคุณภาพ  เมื่อนำไปปฏิบัติจริงจะต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและทุกคน ทุกฝ่ายจะต้องมีความเข้าใจและช่วยกันทำงานเพื่อพัฒนาผู้เรียน เติมเต็มผู้เรียนในทุกๆ ด้าน ดังนั้นจึงควรวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้านให้สอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ โดยอาศัยกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรที่เป็นวิธีการเชิงระบบ (System Approach) ร่วมกับวงจรคุณภาพ (PDCA) และการเตรียมความพร้อมหลักสูตรให้เข้ากับศตวรรษใหม่ด้วยศาสตร์ทั้ง 5 ศาสตร์ ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ (Economics) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology) ประชากรศาสตร์ (Demographic) ความปลอดภัยและหน้าที่พลเมือง (Security and Citizenship) และการศึกษา (Education) ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นี้  เพื่อการเตรียมการจัดการเรียนการสอนที่จะสร้างผู้เรียนให้เป็นผู้รอบรู้ทั้งด้านวิชาการและรอบรู้ความเป็นไปของโลกในทุกๆ ด้าน

Abstract

        The mission of an educational institute is to provide education for students to develop their skills and reach their potential.  The correct and clear understanding of and the emphasis on curriculum management are significant tools of educational development of the country.  All stakeholders need to clarify understanding about school curriculum administration management.  Thus, a good curriculum management system needs to be a qualified system which leads to an effective teaching and learning process.  All stakeholders need to have a clear understanding and cooperate with each other in order to support students in developing their skills.  Therefore, plans should be made in order to prepare all the related components by relying on curriculum management and its System Approach, together with PDCA system.  The curriculum preparation for which is composed of five areas is also concerned, namely, economics, science and technology, demographics, security and citizenship, and education.  Moreover, media literacy is included as one of the necessary skills for curriculum management preparation that will equip students with knowledge in academic fields and about life. 

Article Details

Section
Academic Articles