รูปแบบเว็บฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีการศึกษาของอาจารย์ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ; Web - based Training Model to Develop Educational Technology Competency for Instructors of Rajabhat University

Main Article Content

ดวงใจ พุทธเษม Duangjai Puttasem

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบเว็บฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีการศึกษาของอาจารย์ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) สร้างเว็บฝึกอบรมฯ 3) ศึกษาสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีการศึกษาของอาจารย์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อเว็บฝึกอบรมฯ กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ประจำปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เว็บฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีการศึกษาของอาจารย์ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบเว็บฝึกอบรมฯ แบบประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมฯ แบบวัดความรู้ด้านเทคโนโลยีการศึกษา แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีการศึกษา แบบประเมินชิ้นงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อเว็บฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีการศึกษา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
t-test

                ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบเว็บฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีการศึกษาของอาจารย์ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นอธิบายรูปแบบและคำแนะนำ 2) ขั้นเสนอกรณีศึกษาปัญหา 3) ขั้นสร้างทางเลือกในวิธีการแก้ไขปัญหา 4) ขั้นเชื่อมโยงปัญหาและประเมินทางเลือก
5) ขั้นเสนอผลงานและแนวทางแก้ไขปัญหา และ 6) ขั้นสรุปและประเมินผลแสดงผลลัพธ์ที่ได้ สมรรถภาพด้านเทคโนโลยีการศึกษาของอาจารย์ อาจารย์มีคะแนนความรู้ด้านเทคโนโลยีการศึกษาหลังการฝึกอบรมสูงกว่าคะแนนก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อาจารย์มีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ในระดับดีมาก (คะแนนร้อยละ 64.92) อาจารย์มีคะแนนการสร้างชิ้นงานอยู่ในระดับดีมาก (คะแนนร้อยละ 77.34) และความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อเว็บฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30

Abstract

                The purposes of research and development were to 1) develop web-based training in order to develop educational technology competency of Rajabhat University instructors; 2) create web-based training; 3) study educational technology competency of Rajabhat University instructors, and 4) study the satisfaction of instructors towards the web-based training. The sample was 30 Rajabhat University instructors of lower northern provinces in the academic year of 2014. The research instruments were web-based training to develop educational technology competency of Rajabhat University instructors; web-based training  suitability evaluation form; web-based training model certification form; web-based training quality evaluation form; knowledge test of educational technology, skill test of educational technology problem resolution, work piece evaluation form, and satisfaction questionnaires of instructors towards web-based training for educational technology competency. The data analysis statistics were percentage, mean, standard deviation, and   t-test.

                The research results were found that web-based training model to develop educational technology competency of Rajabhat University instructors was composed of six steps which were 1) explain and recommend; 2) submit case study; 3) make a choice    4) problem linked; 5) presentation and resolutions, and 6) summary and evaluation. The educational technology competency of instructors was shown that the instructors who gain higher score of educational technology knowledge post-training than pre-training with statistical significance at .05 level. The instructors got score of educational technology problem resolution skill at very good level (64.92 percent). Also, the instructors’work piece creation score was at very good level (77.34 percent). Moreover, the instructors’satisfaction towards web-based training was at high level with average of 4.30.

Article Details

How to Cite
Duangjai Puttasem ด. . พ. (2015). รูปแบบเว็บฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีการศึกษาของอาจารย์ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ; Web - based Training Model to Develop Educational Technology Competency for Instructors of Rajabhat University. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 10(29), 117–132. https://doi.org/10.14456/jssra.2015.19
Section
Dissertations