รูปแบบการจัดงานบุญประเพณีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม; The Management of Traditional Community Ceremonies for Cultural Tourism Business Reinforcement
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้กำหนดความมุ่งหมายไว้เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญผะเหวด บุญบั้งไฟ และบุญเข้าพรรษา 2) สภาพปัจจุบันและปัญญาของประเพณีบุญผะเหวด บุญบั้งไฟ และบุญเข้าพรรษา
3) รูปแบบการจัดงานบุญประเพณีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม วิธีวิจัย ทำการศึกษาในภาคอีสาน โดยเลือก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดยโสธร และจังหวัดอุบลราธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำนวน 72 คน เก็บข้อมูลโดยวิธีการสำรวจ สังเกตและสัมภาษณ์
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) ประเพณีอีสานเป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคมและ สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคม 2) สภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดงานบุญประเพณีเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในภาคอีสาน 3) ประเพณีบุญผะเหวด ยังยึดคติตามเดิมคือ ฟังเทศน์ สภาพปัญหาประกอบด้วย
1) สถานที่จอดรถ งบประมาณ การมีส่วนร่วมของประชาชน ปัญหาความปลอดภัย และปัญหาขยะ 2) งานบุญ
บั้งไฟจัดขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยแต่เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแสดงออกถึง ความสามัคคีของหมู่คณะ และมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้ว สภาพปัญหาคือ สถานที่จดรถ ความปลอดภัย ทุน การเข้าร่วมขององค์กรในชุมชน 3) ประเพณีบุญแห่เทียนจัดให้มีขึ้นทุกปีในวัน อาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา สภาพปัญหาประกอบด้วย การจารจร สถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่จอดรถ งบประมาณ การมีส่วนร่วมของประชาชน ปัญหาความปลอดภัย และปัญหาขยะ 4) รูปแบบการจัดงานบุญประเพณีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประเด็นที่จะสามารถนำมาพัฒนาประเพณี มีดังนี้ 1) จัดเป็นแผนการจัดงาน 2) แต่ละจังหวัดสร้างสัญลักษณ์และให้ความหมายของบุญประเพณี 3) แนวทางการจัดงานทรัพยากรในการดำเนินงาน
4) ด้านบุคคลวัด ในการจัดงานด้านทรัพยากรบุคคลในกิจกรรมงานประเพณี 5) ให้มีฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวควรให้มีฝ่ายที่รับผิดชอบประกอบด้วย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายรักษาความเรียบร้อย ฝ่ายปฐมพยาบาล ฝ่ายจัดการแสดงศิลปวัฒนธรรม ฝ่ายประเมินผล ประเพณีทั้งสามจังหวัดมีองค์ประกอบ สภาพปัญหาคล้ายกันจึงมีแนวในการพัฒนาคล้ายกัน
Abstract
This research analyses Boon Pawet, Boon Khao Pansa and Boon Bung Fai cultural ceremonies in North-eastern Thailand. Problems with organization and management of the ceremonies are identified and solutions are given in order to reinforce local tourism business. The study was conducted in three provinces: Roi Et, Yasothon and Ubon Ratchathani. Data were collected from a sample population of 72 individuals by means of survey, observation and interview. The results show that North-eastern cultural ceremonies are derived from Buddhist beliefs and legends, including the life story of the Lord Buddha and concepts of heaven, karma and the lifecycle. During times of ceremony, the North-eastern communities suffer from traffic jams, limited parking space, inadequate budget, poor security, garbage pollution and low level community participation. The management of traditional community ceremonies requires five key components if it is to help reinforce the tourism business in North-eastern Thailand. These components are: 1) a business plan for cooperation between government offices, local private organizations and community members; 2) a unique ceremonial symbol and concept for each community and event; 3) resource management; 4) community member coordination; 5) public relations and facilities management.