การเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของการเรียนโดยใช้วิธีการเรียนแบบพิพาท เชิงสร้างสรรค์กับการเรียนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3; The Comparison of Self-Esteem by Using Constructive Controversy and the Conventional Approach of Mattayomsuksa 3 Stud

Main Article Content

วิศรุติ อินทร์เลี้ยง Wisarut In-leang

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) การเห็นคุณค่าในตนเองก่อนและหลังเรียน
ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนแบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์  2) การเห็นคุณค่าในตนเองก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนแบบปกติ และ 3) การเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนแบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์กับการเรียนแบบปกติ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ดำเนินการวิจัยโดยทำการวัดการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนการทดลองด้วยแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองแล้วเลือกกลุ่มตัวอย่างดำเนินการวิจัยมา 2 ห้องเรียน ที่มีคะแนนจากการวัดการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แล้วสุ่มเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนแบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 55 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนแบบปกติ จำนวน 50 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิธีการเรียนแบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ
3) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง  ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเรียนแบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์และวิธีการเรียนแบบปกติ วิธีเรียนละ 14 ชั่วโมง รวมเวลาการวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที

                ผลการวิจัยพบว่า

                1.  นักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนแบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์มีการเห็นคุณค่าในตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                2.  นักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนแบบปกติมีการเห็นคุณค่าในตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                3.  นักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนแบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์มีการเห็นคุณค่าในตนเองหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

                The research aimed to compare 1) self-esteem before and after learning of students using constructive controversy, 2) self-esteem before and after learning of students using the conventional approach, and 3) self-esteem of students of using constructive controversy and the conventional approach.  The sample used in this study were Mattayomsuksa 3 students from Phichit Pittayacom school. The measurement of self-esteem before the experiment was done and the samples selected from two classes were graded on measurement of self-esteem prior to trial, with no statistically significant difference. Then they were randomized into an experimental group of 55 students using constructive controversy and a control group of 55 students using the conventional approach. The research instruments were 1) the constructive controversy plan, 2) the conventional approach  plan, and 3) the self-esteem of students questionnaire the constructive controversy and the conventional approach learning took 14 hours each inclusive of self-esteem measurement. The results of testing were analyzed by using mean, standard deviation and t-test.

                The results of the research were concluded as follows:

                1.  For the students using constructive controversy the self-esteem posttest scores were higher than their pretest scores at the statistically significant level of .01.

                2.  For the students using the conventional approach the self-esteem posttest scores were higher than their pretest scores at the statistically significant level of .01.

                3.  For the students using constructive controversy the self-esteem  posttest scores were higher than the conventional approach the statistically significant level of .01.

Article Details

How to Cite
Wisarut In-leang ว. อ. (2016). การเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของการเรียนโดยใช้วิธีการเรียนแบบพิพาท เชิงสร้างสรรค์กับการเรียนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3; The Comparison of Self-Esteem by Using Constructive Controversy and the Conventional Approach of Mattayomsuksa 3 Stud. SOCIAL SCIENCES RESEARCH AND ACADEMIC JOURNAL, 11(31), 149–162. https://doi.org/10.14456/jssra.2016.11
Section
Dissertations
Author Biography

วิศรุติ อินทร์เลี้ยง Wisarut In-leang

Thailand Citation Index Centre