รูปแบบการนำแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร; Model of Making to Push Plan Community Format to the Plan Develops Three Year of the Organization Govern Local of Kamphaeng Phet

Main Article Content

พิษณุ บุญนิยม Phitsanu Boonniyom

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการนำแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร 2)  การผลักดันแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร และ 3) จัดทำรูปแบบการผลักดันแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร กำหนดพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 ตำบล เป็นกลุ่ม A กลุ่ม B และกลุ่ม C  กลุ่มละ 5 ตำบล ตามโครงการบำบัดทุกข์บำรุงสุข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่และค่าร้อยละ สำหรับข้อมูลส่วนเนื้อหาวิเคราะห์และสังเคราะห์ประเด็นที่สำคัญ

                ผลการวิจัยพบว่า

                แผนชุมชนของเป้าหมายกลุ่ม A และกลุ่ม B ดำเนินการโดยคณะกรรมการหมู่บ้านทบทวนแผนชุมชนก่อนเริ่มการจัดทำแผนชุมชนปีถัดไป สำหรับแผนชุมชนของเป้าหมายกลุ่ม C ไม่ได้จัดทำแผนชุมชนที่เป็นรูปเล่มสมบูรณ์ แต่จัดทำแผนชุมชนพร้อมกับแผนพัฒนาสามปี ปัญหาการจัดทำแผนชุมชนเกิดจากข้อมูลสนับสนุนไม่สอดคล้องกับการนำมาใช้ประโยชน์ รวมถึงความไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ในการจัดทำแผนชุมชนของคณะกรรมการหมู่บ้าน สำหรับการผลักดันแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาสามปี ต้องดำเนินการจัดทำแผนชุมชนให้เสร็จก่อนโดยการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการหมู่บ้านและความร่วมมือของเครือข่ายชุมชน รูปแบบการผลักดันแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาสามปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร สังเคราะห์แนวปฏิบัติได้ดังนี้ 1) การพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการหมู่บ้าน 2) ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน 3) ทบทวนแผนชุมชน 4) วิเคราะห์บริบทชุมชน 5) การยกร่างแผนชุมชน 6) การประชาคมแผนชุมชน 7) ปรับปรุงแก้ไขแผนชุมชน 8) ผลักดันแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาสามปี 9) แต่งตั้งกรรมการติดตามแผนชุมชน 10) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวบรวบแผนชุมชน 11) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติ และ
12) ประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี 

Abstract

                This research aimed to 1) study conditions and problems from utilizing community plans to develop a three-year plan for local government, Kamphaeng Phet, 2) support three-year plan community planning process for local government, Kamphaeng Phet, and 3) design a model for driving the support of three-year community plan developing process for local government, Kamphaeng Phet. The study designated the target areas in 15 sub-districts.  They were divided into 3 groups (5 sub-districts each) : Group A, Group B, and Group C.

                The results of this research were as follows:

                The community plans of Group A and Group B were managed by community committee that reviewed the community plans before developing the next year plans.  The community plan of Group C was not completed; however, it was developed to be the three-year community plan.  The problems in managing the community plans were caused by insufficient data supports for their implications as well as village committee’s misunderstanding in developing the three-year community plans. In the three-year community plan developing process, it needed to develop the community plans together with developing the potential of village committee and the collaboration of community network. It could be synthesized that the pattern promoting the development of  three-year community plans,  Kamphaeng Phet Province was: 1) developing the potential of village committee, 2) organizing the meetings of village committee, 3) revising the community plans,
4) analyzing the community contexts, 5) drafting the community plans, 6) public hearing the community plans, 7) improving the community plans, 8) driving the community plans, 9) following up the community plans,
10) collecting the community plans by sub-district offices of local government, 11) setting up local government jurisdiction by sub-district offices of local government, and 12) announcing the community plans.

Article Details

Section
Research Articles