การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมของผู้ประกอบการในจังหวัดกำแพงเพชร; Strategy Development for Small Business Operation of Entrepreneur in Kamphaeng Phet Province
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมของผู้ประกอบการในจังหวัดกำแพงเพชร 2) พัฒนากลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมของผู้ประกอบการในจังหวัดกำแพงเพชร และ 3) ประเมินกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมของผู้ประกอบการในจังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และการใช้แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมของผู้ประกอบการในจังหวัดกำแพงเพชร ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการขายส่งและขายปลีก มีการลดราคา เพื่อเป็นการส่งเสริมการขาย ใช้เงินทุนของตนเองในการดำเนินธุรกิจ พนักงานส่วนใหญ่เป็นคนในท้องถิ่น ปัญหาที่สำคัญ พบว่า การแข่งขันทางด้านราคาค่อนข้างสูง เครื่องจักรไม่ได้มาตรฐาน สินค้ามีคุณภาพต่ำ ผู้ประกอบการมีเงินทุนไม่เพียงพอ พนักงานขาดความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ พบว่า ปัจจัยภายใน ผู้ประกอบการมีความรู้ มุ่งมั่นทุ่มเท สามารถตัดสินใจได้ทันที พนักงานมีความรู้พื้นฐานต่ำ เปลี่ยนงานบ่อย และปัจจัยภายนอก รัฐบาลมีนโยบายการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม สถาบันการเงินสนับสนุนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ ค่าแรง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนสูงขึ้น การเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมทำให้ขาดแคลนแรงงาน
2. กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมของผู้ประกอบการในจังหวัดกำแพงเพชรประกอบด้วย 9 กลยุทธ์
29 ตัวชี้วัด และ 38 แนวทางการพัฒนา ซึ่งกลยุทธ์ประกอบด้วย 1) เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการที่หลากหลาย 2)สร้างภาพลักษณ์และตราสินค้าให้โดดเด่นมีความแตกต่าง 3) ยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานตามที่หน่วยงานภาครัฐกำหนด 4) เพิ่มขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตสินค้าและบริการ 5) พัฒนาการผลิตสินค้าและบริการที่แปลกใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางให้กับกลุ่มลูกค้า 6) เพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน 7) ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ 8) ยกระดับทักษะฝีมือในการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ 9) แสวงหากลุ่มเครือข่ายและพันธมิตรทางธุรกิจ
3. ผลการประเมินกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมของผู้ประกอบการ พบว่า กลยุทธ์ส่วนใหญ่มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการยอมรับได้อยู่ในระดับมากและมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were: 1) to study the states, problems and factors related to the small business operation of entrepreneurs in Kamphaeng Phet, 2) to develop the strategies for the small business operation of entrepreneurs in Kamphaeng Phet, and 3) to assess the strategies. Data were collected through the use of interview, focus group discussion, workshop, connoisseurship and assessment form. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. The research findings were as follows:
1. The states of the small business operation of entrepreneurs in Kamphaeng Phet were found that most entrepreneurs sold both wholesale and retail. Sales promotion generated higher sales. The entrepreneurs used their own money to run the business. Most of the workers were from the local community. The major problems showed that the price competition was high. The non-standard machines were used for business so that the products quality was low. Moreover, the funds were insufficient. The workers lacked the skills or knowledge to perform their work. The factors related to the small business operation of entrepreneurs were as follows: for the internal factors, it was found that the entrepreneurs were knowledgeable and willing to work and could make the decision promptly. The workers were not well educated. For the external factors, it was found the government
policy supported the small business operation and financial institution supported the credits for the small business. The increasing of labour wages and fuel caused high cost. The workplaces lacked the labours as labours moved to the industrial sectors.
2. The strategies for small business operation of entrepreneurs consisted of 9 strategies, 29 indicators and 38 guideline
The strategies consisted of 1) increasing channels of distribution of products and services, 2) building a strong brand, 3) upgrading product and service quality according the standards, 4) increasing production technology manufacturing, 5) developing new products and services responding to customer requirement, 6) increasing the entrepreneurs’ capability to access to financial institutes, 7) improving efficient management structure, 8) increasing the workers’ efficient skills and, 9) finding network and business alliance.
3. The assessment of the strategies showed that the consistency, the propriety, the feasibility and the acceptability were at the high and highest levels.